ภาษาอีสานหมวด "ต" 281 - 290 จาก 779

  • ติ่งต้อง
    แปลว่า : ลูกกระดิงเล็กและใหญ่ เมื่อลมพัดมากระดิงเล็กเสียงดังติ่ง กระดิงใหญ่เสียงดังต้อง เสียงที่ดังสลับกันเรียก ติ่งต้อง อย่างว่า เสียงติ่งต้องลมเบิกกระดิงดัง(กา).
  • ติ่งติ้น
    แปลว่า : จับด้วยมือสองนิ้ว คือนิ้วชี้และนิ้วโป้ การจับด้วยมือสองนิ้วไม่แน่นเรียก จับติ่งติ้น อย่างว่า กูจักจับติ่งติ้นนมไว้บ่วาง(กา).
  • ติงสะ
    แปลว่า : สามสิบ (ป.).
  • ติ้งหลิ้ง
    แปลว่า : ใสแจ๋ว, ใสสุด น้ำที่ใสสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน เรียก ใสติ้งหลิ้ง อย่างว่า ไทไกลนี้เจงเลงน้ำแจ่วข่า บ่ท่อใสติ้งหลิ้งไทใกล้น้ำแจ่วขิง(ภาษิต).
  • ติณะ| ติณ
    แปลว่า : หญ้า(ป.) ติณชาติ หญ้า, พืชจำพวกหญ้า อย่างว่า ฝูงหมู่ติณณังหญ้าเครือเขากับก่าย ต้นต่อต้นลำดั้วป่งเขียว(กา).
  • ติด
    แปลว่า : ข้องเกาะ, แนบ อาการที่ข้องอยู่เรียก ติด อย่างว่า ตมติดเอาตมล้างแถมกันมันชิค่อง คือรือ น้ำติดเอาน้ำล้างแถมซ้ำตื่มผู้ดี(กลอน).
  • ติดเซิง
    แปลว่า : ติดสัด เดือนเก้าเป็นเดือนที่หมาติดสัด เมื่อถึงเดือนนี้หมาตัวผู้จะวิ่งผสมพันธุ์ตัวเมียชนิดไม่ต้องกินต้องนอน อาการอย่างนี้เรียกว่า หมาติดเซิง.
  • ติถี
    แปลว่า : ดิถี, วันตามจันทรคติ เช่นขึ้นหนึ่งค่ำ แรมสองค่ำ เป็นต้น.
  • ติบ
    แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่เรียก ติบ กระติบ ก็ว่า ใส่ข้าวเหนียวนึ่ง เรียก ติบเข้า ใส่หมากพลูปูนยา เรียก ติบหมาก ใส่ฝ้ายไนไหมหลอด เรียก ติบหลอด ตลับเล็กๆ ใส่ขี้ผึ้งสีปากเรียก ติบนวด.
  • ติว
    แปลว่า : ผิวของไม้ไผ่เรียก ติว ผิวที่เรียบและแข็งมีเฉพาะไม้ไผ่ เช่น ไม้ไผ่บ้าน ไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่ส้างไพ ไม้ไผ่ส้างคำ ไม้ไผ่บง ไม้ไผ่ซาง ไม้ไผ่เฮี้ย ไม้ไผ่ฮวก ไม้นอกจากไม้ไผ่ไม่มีติว ถึงจะมีบ้างก็ไม่แข็ง.