ภาษาอีสานหมวด "ต" 301 - 310 จาก 779

  • ตี่
    แปลว่า : ถ่างออก แหวกออก เช่นเอามือถ่างตา เรียก ตี่ตา เอามือถ่างปากเรียก ตี่ปาก อย่างว่า แก้มปี่ลี่แก้มเจ้าปี่ลี่ สองมือตี่หีหน่อแตดปักมือ กูหลาบกูจื่อท่อนี้แล้ว (สอย).
  • ตี๊
    แปลว่า : ใช้เป็นคำต่อท้ายคำถาม เช่น บ่เอาตี๊ บ่กินตี๊ บ่เฮ็ดตี๊ บ่ไปตี๊.
  • ตีง
    แปลว่า : ติง ไหว ไหวตัวเรียก ตีงคีง ตีงโต ก็ว่า อย่างว่า ลางเถ้าตีงโตได้ไปมาดิ้นด่าวด่าว ตาขุ่นปานน้ำเข้ากุมเว้าดั่งบ่าวสาว ลางเถ้าหัวขาวแล้วแอวกะแงนดากกะแอ่น ยังเล่าแหะแห่นแหล้นหลงเต้นบ่เบิ่งโต (กาพย์ปู่).
  • ตีเตาะตีต้อน
    แปลว่า : เสียงเปลดัง เวลาลูกเล็กเด็กแดงร้องไห้ แม่จะเอาลูกลงในอู่แล้วกล่อมไกวไปมา หรือการพรรณาถึงความลำบากของแม่ที่มีต่อลูกในขณะที่ลูกยังเล็ก อย่างว่า แม่ก็ไกวเจ้าไปตีเตาะตีต้อน แม่เจ้ากินน้ำฮ้อนปากเปื่อยปากแดง ไฟลุกแฮงแม่เจ้าแฮ่งฮ้อน (สู่ขวัญ).
  • ตีนจำ
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบและดอกใฃ้กินเป็นอาหารได้เรียก ต้นตีนจำ มีสองชนิดคือตีนจำใหญ่และตีนจำน้อย อย่างว่า ตีนจำเปี้ยบานแถวถันต่ำ สัพพะดวงดอกไม้ต้นต่ำตีนจำ (สังข์).
  • ตีนแฮด
    แปลว่า : ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง ตีนใหญ่ คล้ายตีนแฮด เรียก เห็ดตีนแฮด ใช้กินเป็นอาหารได้.
  • ตีบ
    แปลว่า : ชื่อกล้วยจำพวกหนึ่ง มีสองชนิดคือ กล้วยตีบน้อยและกล้วยตีบใหญ่ กล้วยสองชนิดนี้มีรสหวาน มีโปรตีนมาก ใช้เลี้ยงเด็กดีนัก อย่างว่า มีทั้งกล้วยตีบน้อย สุกลีบกินหวาน (เวส-กลอน).
  • ตีบ
    แปลว่า : มนต์ปลูกผม คนมีผมน้อยหรือไม่มีเลย คนโบราณมีมนต์ปลูกผม อย่างว่า โอมตีบมหาตีบ โอมตีบนั้นพ่อครูกูสอน มหาตีบนั้นผมซอนขึ้นใหม่(มนต์ปลูกผม).
  • ตีบ
    แปลว่า : ลีบ, แฟบ คนไม่เจริญเติบโต มีแขนขาลีบ เรียก โรคตีบ โรคคอตีบ.
  • ตีปีก
    แปลว่า : เลื่อยกะพี้ไม้ เรียก ตีปีกไม้ การแสดงความดีใจในเมื่อชนะเขา โดยงอข้อศอกตีสีข้างของตน เรียก ตีปีก ไก่จะขันแต่ละครั้งจะต้องตีปีกก่อน เรียก ไก่ตีปีก ไก่ตบปีก ก็ว่า อย่างว่า ไก่ก็ตีปีกท้าขันชั้นเทื่อสาม(กา).