ภาษาอีสานหมวด "ต" 311 - 320 จาก 779
-
ตีเผิ้ง
แปลว่า : การลำกลอนชนิดหนึ่ง เจ้าภาพต้องการให้รางวัลแก่หมอลำที่ลำกลอนดี จัดรางวัลไปแขวนไว้ปะรำหมอลำ ให้หมอลำลำกลอนตีเผิ้ง ถ้ากลอนใครขบขันมีคนปรบมือให้ถือว่าลำดี จับเอารางวัลไปได้ รางวัลที่แขวนไว้นี้ เรียกฮวงเผิ้ง. -
ตีเผิ้ง
แปลว่า : ปิดเอารวงขึ้น ผึ้งสมัยโบราณมีอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ และสูง การขึ้นไปเอาผึ้งมากินมาใช้แต่ละครั้ง ผู้ขึ้นไปเอาจะต้องมีลิ่มตอก ลิ่มโบรารณเรียกทอย การตอกทอยให้ห่างกันพอขึ้นลงได้สะดวกและต้องตอกให้แน่น. -
ตึ
แปลว่า : กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่ง เช่นกลิ่นปลาแดกไม่เน่า แต่มีกลิ่น เรียก กลิ่นตึ ตึหลือ ก็ว่า ปลาแดกที่มีกลิ่นอย่างนี้โบราณเรียก ปลาแดกต้วง เหมาะสำหรับตำส้มหมากหุ่ง ถ้าใครไม่ได้กินก็อย่าพึ่งตาย กินแล้วอายุยืนด้วย. -
ตึก
แปลว่า : เรือนโบราณแบบหนึ่ง ไม่ยกพื้น ใช้เสาไม้แก่น ฝาสานด้วยรีกไม้ไผ่ทาด้วยดินเหนียว หลังคามุงหญ้า อากาศภายในตึกไม่ร้อนอบอ้าว อยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเพราะอากาศเป็นพิษ ราคาค่าก่อสร้างก็ไม่แพง ผู้ต้องการสร้างก็ไม่จำเป็นต้องขายไร่ขายนามาสร้าง. -
ตึก
แปลว่า : ทอด ตก ทอดแหเรียก ตึกแห ตกเบ็ดเรียก ตึกเบ็ด ใส่เบ็ด ก็ว่า อย่างว่า ตึกแหหวังเอาปลา เฮ็ดนาหวังเอาเข้า ฟันโพนปลูกหมากถั่ว เอาผัวเอาเมียหวังลูกเต้าแทนเชื้อสืบแนว (กลอน). -
ตึ๊กตึ๊ก
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงหัวใจเต้นแรง ดังตึ๊กตึ๊ก. -
ตึ่ง
แปลว่า : เต็ง, เต็ม, ตึง นมเต็มเต้า เรียก นมตึ่ง อย่างว่า ถนาเต้ายุคลถันทังคู่ขอให้เต็มตึ่งตั้งตูนเต้าอย่าคลอน ยามเมื่อข้านี้ได้ธรงคัพบุตตา อย่าให้หัวนมดำหย่อนยานคือห้อย ขอให้คือปทุมตั้งบัวหลวงเทียมคู่ยามเมื่อลูกเหนี่ยงเหล้นนมน้องอย่ายาน(เวส-กลอน). -
ตึ่ง
แปลว่า : เติบโต มะม่วงเติบโต เรียก หมากม่วงตึ่ง แก้มที่มีเนื้อหนา เรียก แก้มตึ่ง นมที่มีเนื้อหนา เรียก นมตึ่ง. -
ตึ้ง
แปลว่า : เสียงฟ้าร้องในที่ไกล ดังตึ้ง อย่างว่า ฟ้าฮ้องตึ้งโตพี่คนิงนาง(บ.). -
ตึงตาง
แปลว่า : ฉับพลัน, ทันที ไปทันที เรียก ตึงตางไป อย่างว่า ตึงตางเสด็จด่วนไปมียั้ง (กา) รีบลุกเรียก ตึงตางลุก อย่างว่า มันก็ตึงต่างลุกส่องแยงยังเจ้า (เวส) รีบกระโดด เรียก ตึงตางเต้น อย่างว่า อย่าได้ตึงตางเต้นเห็นตอเต้นใส่ (ย่า).