ภาษาอีสานหมวด "ต" 331 - 340 จาก 779

  • ตุ่น
    แปลว่า : ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ตัวคล้ายหนู แต่เล็กกว่า ชอบขุดรูอยู่เรียก ตุ่น อย่างว่า หนูกินกล้วยปะขวยให้ตุ่น มักเพิ่นพุ้นมาเฮื้องใส่เฮียม (ผญา).
  • ตุ้น
    แปลว่า : เอาไม้พายราน้ำ เพื่อให้เรือหยุดเรียก ตุ้นเฮือ พูดตักเตือนไว้ก่อนเรียก ตุ้นเตือน ตักเตือน ก็ว่า.
  • ตุบ
    แปลว่า : เอาสิ่งของที่มีราคาเท่ากันมาแลกเปลี่ยนกัน เรียก ตุบ จุบ ก็ว่า.
  • ตุ๊บตับ
    แปลว่า : มีเสียงดังอย่างนั้น เช่นเสียงที่เกิดจากเอามือทุบดิน หรือของหนักที่หนักตกลงมาสู่ดิน ดังตุ๊บตับ.
  • ตุ่ม
    แปลว่า : สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับตุ่มแต่ขนาดใหญ่กว่าตุ่ม เช่น นมตุ่ม อย่างว่า มือนวดน้าวนมน้องตุ่มงาม (กา) แหนแห่ง้อมนงถ่าวนางพรหม มาเนาในนครสวางพ่างบาบุญกว้าง หลิงเห็นนักสนมท้าวเต็มโฮงกากาด นมตุ่มตั้งผิวเหลื้อมส่องใส (ฮุ่ง).
  • ตุ่ม
    แปลว่า : ตาย ตายเรียก ตุ่ม อย่างว่า องค์หลานไท้ลือชาสิทธิเดช ใผต่อสู้หวังตั้งตุ่มตายอีกแล้ว (สังข์) ภูชัยท้าวใช้ฮีบทวนทัน กูจักเขียวภูสูงหลิ่งหีนเหวห้วย บัดนี้เงินยางฮ้อนคือควันลนลวก สูเยียะซ้ำช่อยฆ่าแมนม้วยตุ่มตายแด่เนอ (ฮุ่ง).
  • ตุ้ม
    แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ มีรูปคล้ายข้อง มีงาแซงอยู่ข้างเรียก ตุ้ม ตุ้มมีหลายชนิด ชนิดตาห่างใช้ดักกบ เรียก ตุ้มกบ ชนิดตาถี่ใช้ดักปลกเล็ก เช่นปลาซิว ปลาขาวนา เรียก ตุ้มลาน ชนิดใหญ่และยาว ใช้ดักปลาดุก ปลาค่อ ปลาเข็ง เรียก ตุ้มใหญ่.
  • ตุ้ม
    แปลว่า : เครื่องประดับหู ทำเป็นรูปคล้ายลูกปัด รูปขนมเปียกปูน เรียก ตุ้มเกิ้ง.
  • ตุ้ม
    แปลว่า : กระดุม กระดุมที่ทำด้วยทองคำ เงิน นาค ครั่ง จะทำเป็นเม็ดหรือร้อยเป็นเส้นพวงคล้ายสายสร้อย เรียก หมากตุ้ม ใส่เสื้อ เรียก ตุ้มเสื้อ ใส่ผ้า เรียก ตุ้มผ้า.
  • ตุ้ม
    แปลว่า : กลองตุ้ม ชื่อกลองชนิดหนึ่ง หุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า ใช้ตีในเวลาเล่นบุญบั้งไฟ หรือกลองที่ตีเสียงดังตุ้มตุ้ม เรียก กลองตุ้ม.