ภาษาอีสานหมวด "ถ" 111 - 120 จาก 200

  • เถิ้น
    แปลว่า : เทอญ ใช้เป็นคำลงท้ายซึ่งผู้พูดมีความต้องการให้เป็นเช่นนั้น อย่างว่า บรรพชานั้นนิทาธรรมเถ้ากล่าว แล้วท่อนี้ถวายไท้พระยอดคุณก่อนเถิ้น (สังข์).
  • เถียง
    แปลว่า : โรงเรือนที่ปลูกไว้เพื่อเฝ้าพืชผลเรียก เถียง ปลูกไว้ที่นาเรียก เถียงนา ปลูกไว้ป่าเรียก เถียงไฮ่.
  • เถียง
    แปลว่า : พูดโต้แย้งเรียก เถียงกัน อย่างว่า ตาบอดคลำช้างมักเถียงกัน (ภาษิต) คือดั่งเสือลวงได้มิคาลูกมั่ง จริงแล้ว รือจักเถียงท่านแพ้กรรมข้องครอบคีง แลเด (สังข์).
  • เถียร
    แปลว่า : มั่นคง แข็งแรง สิ่งที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนา เรียก เถียร เสถียร ก็ว่า อย่างว่า ขอให้ยืนยิ่งล้ำเสถียรหมั้นหมื่นปี พุ้นเนอ (กลอน).
  • เถียว
    แปลว่า : เรียว เล็ก ลักษณะที่มีจำนวนน้อยเรียก เถียว น้อยเดียวเถียวกิ่ง ก็ว่า.
  • เถี่ยว
    แปลว่า : รีบ เร่ง การทำโดยเร่งรีบเรียก เถี่ยว อย่างว่า ขอให้ราชาเจ้าไปเปียวมาเถี่ยว (กา) รีบถามเรียก ทักเถี่ยว อย่างว่า เมื่อนั้นราชาครูเจ้าทรงธรรมถักเถี่ยว ตนท่านผู้จรดั้นฮอดดี แด่รือ (สังข์).
  • เถี้ยว
    แปลว่า : หน ครั้ง ครั้งหนึ่ง เรียก เถี้ยวหนึ่ง หนหนึ่ง เรียก เถี้ยวหนึ่ง.
  • เถือ
    แปลว่า : เชือด เฉือน ใช้มีดปาดเรียก เถือ อย่างว่า เยื้อนถอดด้างดาเบี่ยงบังคีง ภายมันถือดาบเถือเถิงเนื้อ ฟันภายข้างแขนขวาเขินขาด เลือดหลั่งล้นลงเท้าทั่วธะรา (สังข์).
  • เถือด
    แปลว่า : จุกกระดอน จุกกระดอนเรียก เถือด เถือดมีทั้งไม้และดิน ในการทำบั้งไฟจะต้องใช้ทั้งเถือดดินและเถือดไม้ทั้งปากและก้นบั้งไฟ เพื่อกันบั้งไฟทะลุหรือ หลู ในขณะจุด.
  • เถือด
    แปลว่า : เต็มที่ หมดแรง ทำเต็มกำลัง เรียก เฮ็ดเต็มเถือด เฮ็ดเหมิดเหยียด ก็ว่า.