ภาษาอีสานหมวด "ถ" 91 - 100 จาก 200
-
เถโน
แปลว่า : ขโมย โจร ผู้ที่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ จะเป็นโจรหรือไม่ให้ถือเจตนาของผู้ถือเอาเป็นเครื่องตัดสิน ถ้าเขาถือเอาด้วยวิสาสะคุ้นเคยกันก็ไม่ถือว่าเป็นโจร ต้องครบองค์ 4 คือ ถือเอาของที่เขาไม่ให้ ใจเป็นโจร ถือเอาด้วยอาการเป็นโจร ได้ของมาด้วยอาการเป็นโจร. -
เถมิน
แปลว่า : พวก เหล่า ทหาร พรานป่า (ข. เถมิร ผู้เดิน) เช่น เถมินเชิง พลเดินเท้า เถมินไพร พรานป่า. -
เถยยะ
แปลว่า : ความเป็นโจร เถยยจิต จิตคิดเป็นโจร เถยยเจตนา ความตั้งใจจะเป็นโจร. -
เถร
แปลว่า : สามเณรผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ หรือผู้มีอายุครบแต่ไม่บวชเป็นพระ ด้วยเห็นว่าการบวชเป็นพระนั้นลำบากต่อการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงอยู่ในเพศสามเณรตลอดไป โบราณเรียกว่า เถร คือสามเณรโคร่งนั่นเอง. -
เถรราช
แปลว่า : พระเจ้าแผ่นดินอุปสมบท ถึงอายุพรรษาจะไม่มาก ก็นิยมเรียก เถรราช อย่างว่า พอมหาเถรไท้ธรงธรรมกุศราช เดินฮอดแล้วกลางคุ้มข่วงปรางค์ เขาก็สนสนเข้ายาครูใส่บาตร มหาเถรราชเจ้าแลแล้วลวดกระสัน (สังข์). -
เถระ
แปลว่า : พระผู้เป็นใหญ่เรียก พระเถระ มีอายุพรรษาตั้งแต่ 10 พรรษาขึ้นไป พระที่มีอายุพรรษาต่ำกว่า 10 สูงกว่า 5 เรียก พระมัชฌิมะ ต่ำกว่า 5 พรรษาเรียก พระนวกะ. -
เถรานุเถร
แปลว่า : พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย (ป.). -
เถรี
แปลว่า : พระเถระผู้หญิง (ป.). -
เถลิง
แปลว่า : เริ่มต้น เริ่มใหม่ ขึ้นใหม่ วันขึ้นจุลศักราชใหม่ เรียก วันเถลิงศก คือวันที่พระอาทิตย์โคจรจากราศีมีนสู่ราศีเมษา เรียก วันเถลิงศก. -
เถลี่ย
แปลว่า : เฉลี่ย แจกแบ่งสิ่งของให้ทั่วถึงกัน เรียก เถลี่ย เถลี่ยไถล เถลี่ยทะลาย ก็ว่า.