ภาษาอีสานหมวด "น" 81 - 90 จาก 476
-
นัวระซ้อย
แปลว่า : สวยงาม คนสัตว์หรือสิ่งของที่มีลักษณะสวยงาม เรียก นัวระซ้อย อย่างว่า ภูมีย้ายประทวนพลยัวรยาตร เสด็จสู่ช้าง นัวระซ้อยชอบยาม (เวส-กลอน). -
นัวระพราก
แปลว่า : จากไปนาน อย่างว่า ท้าวแต่งเนื้อนัวระพรากกลอยใจ (กา). -
นัวระสี
แปลว่า : สดสวย อย่างว่า ยมราชเสื้ออันอ่อนใยบัว รงสังวาลดั่งพรหมภายฟ้า นัวระสีย้องกินรีนำฮูป แหวนใส่ก้อยคุลีส้วยเฮื่อเฮือง (ฮุ่ง). -
นัวระอ้วน
แปลว่า : สวยงาม อย่างว่า ภูมียั้งหายแคลนคราวหนึ่ง แล้วแต่งเนื้อนัวระอ้วนใต่ตาม (สังข์). -
นัวระอ้อย
แปลว่า : อ้อยอิ่ง อย่างว่า แม้งหนึ่งเถิงสถานกว้างนารีลิวลี่ ที่นั้นอินทร์ปลูกไว้ดวงส้มแก่สมณ์ ตาปโสเหล้นหลายทางยูท่าง ฮักฮูปน้องนัวระอ้อยอิ่นออย (สังข์). -
นา
แปลว่า : พื้นที่สำหรับปลูกข้าวเรียก นา นาป่าเรียก นาโคก นาดอนเรียก นาโนน นาลุ่มเรียก นาทาม นาบุกเบิกใหม่เรียก นาซ่าว อย่างว่า เฮ็ดนาว่าปีหน้า ไปค้าว่าปีฮือ คะลำ (ภาษิต) งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต). -
นา
แปลว่า : เป็นคำช่วยกิริยาบอกความเสนอแนะหรือขอร้อง เช่น ขอไปนำแด่นา ขอกินแด่นา. -
น้า
แปลว่า : น้องของพ่อแม่หรือผู้มีวัยอ่อนกว่าพ่อแม่ เป็นผู้ชายเรียก น้าบ่าว เป็นผู้หญิงเรียก น้าสาว. -
นาก
แปลว่า : ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายพังพอน แต่ตัวโต ขนสั้น หางใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ กินปลาเป็นอาหาร เรียก นาก. -
นาก
แปลว่า : โลหะผสมชนิดหนึ่ง เอาทองคำ เงินและทองแดงผสมกันเรียก ทองนาก นิยมใช้ทำตุ้มหู สายสร้อย และแหวน เป็นต้น.