ภาษาอีสานหมวด "น" 91 - 100 จาก 476
-
นาค
แปลว่า : งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนวนิยาย (ป.ส.) อย่างว่า นางคราญได้พิเศษศรเสด็จ พงศ์พันธุ์ไหลหลั่งดอมโดยล้าน เค็งเค็งเท้าปรางค์ทองเทวราช ประดับนั่งล้อมหลายชั้นแห่แหน (สังข์). -
นาค
แปลว่า : ช้าง ไม้กากะทิง (ป.) อย่างว่า เป็นดั่งนาโคช้างพลายสารสัตว์ใหญ่ตายย้อนมดแดงตัวน้อยแนวนั้นก็หากมี (กลอน). -
นาค
แปลว่า : ผู้ประเสริฐ ผู้ไม่ทำบาป เช่น พระพุทธ เป็นต้น. -
นาค
แปลว่า : ผู้เตรียมตัวจะบวช เรียก นาค มีทั้งนาคพระและนาคเณรด้วย. -
นาคร
แปลว่า : ชาวนคร ชาวกรุง (ป.ส.). -
นาคเรศ
แปลว่า : เมืองนาค อย่างว่า นาเรศนี้มีได้ท่านธร (กา). -
นาคา
แปลว่า : งู. -
นาคาวโลก
แปลว่า : ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ทำเป็นพระยืนห้อยพระหัตถ์ซ้าย ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ เหลียวหลังเบือนพระพักตร์กลับมาข้างหลัง. -
นาคี
แปลว่า : นาคตัวเมีย อย่างว่า สองแม่ป้าเฮียงลูกสามสี นาคีประดับแต่งปุนปัวเจ้า ผ่อเห็นสุรภาพ้นภูคำเค้าค่อน พุ้นเยอ ดีแก่ขุนไพร่พร้อมคณาน้ำเลิกรา (สังข์). -
นาเคนทร์
แปลว่า : พระยาช้างเรียก นาเคนทร์ นาคิน นาคินทร์ นาเคศ นาเคศวร ก็ว่า อย่างว่า ช้างตัวนี้ชื่อช้างปัจจัยนาเคนทร์ หัวมันเงนท่อจูมปลวก (เวส).