ภาษาอีสานหมวด "ย" 101 - 110 จาก 408

  • ยำย่าง
    แปลว่า : เถาวัลย์ที่ห้อยลงมา เรียก ย้อยยำย่าง อย่างว่า ว่าบ่มีเครือเกี้ยวสังมาเป็นยำย่าง สองตาบข้างเป็นปุ้มหมากบวบลอย ว่าบ่มีเครือเกี้ยวสังมาเป็นยำย่าง ว่าไต้ล่างบ่กว้างสังมาได้ผูกควาย (ผญา).
  • ยิกยิก
    แปลว่า : อาการไหวขึ้นลงถี่ๆ เรียก เต้นยิกยิก.
  • ยิง
    แปลว่า : ทำให้แล่นออกไปโดยเร็ว เรียก ยิง เช่น ยิงปืน ยิงธนู ยิงลูกศร ยิงหน้าไม้.
  • ยิ่ง
    แปลว่า : เสมอ เหมือน เร็วเสมอลมเรียก ยิ่งลม อย่างว่า ม้าล่วงย้ายผันเต้นยิ่งลม (กาไก) เสียงเหมือนตุริยาเรียก ยิ่งตุริยา อย่างว่า กอระวีกฮ้องยังยิ่งตุริยา (สังข์).
  • ยิ่งแข้ว
    แปลว่า : เปิดปากให้เห็นฟัน เรียก ยิ่งแข้ว อย่างว่า โขนยิ่งแข้วตากะโล้หยอกสาว (กาไก).
  • ยิ่งย้อย
    แปลว่า : สวยดุจจะหยดย้อย เรียก งามยิ่งย้อย อย่างว่า งามยิ่งย้อยนางฟ้าเกิ่งกัน (กาไก).
  • ยิน
    แปลว่า : รู้เสียงด้วยหู ได้ยิน ก็ว่า อย่างว่า ฟังยินลมล่วงต้องไกวกิ่งสาขา พุ้นเยอ กาเวาวอนส่งเสียงสูรก้อง เวรังฮ้ายฮามสมใสกล่าว เพราะเพื่อมันถ่อยถิ้มใสแก้วเกี่ยวมโน (สังข์).
  • ยิ้น
    แปลว่า : รินหรือเทน้ำ เรียก ยิ้นน้ำ เย่น ก็ว่า อย่างว่า น้ำหล่อยิ้น ไหลย้อยเลื่อนลง (หน้าผาก) นางคราญยิ้นคันที่ยอหลั่ง (กาไหก).
  • ยินแคลน
    แปลว่า : ลำบาก ยุ่งยาก อย่างว่า บาก็ยินแคลนค้ามเซานอนในตาด (สังข์).
  • ยินดี
    แปลว่า : ชอบใจ ดีใจ ชอบใจเรียก ยินดี ยิน ก็ว่า อย่างว่า สนุกอย่านอน เมียวอนอย่ายิน เฮ็ดกินอย่าคร้าน เข้าบ้านอย่าอาย เห็นผีตายอย่าขี้เดียด (ภาษิต).