ภาษาอีสานหมวด "ย" 81 - 90 จาก 408
-
ยาม
แปลว่า : เยี่ยม ไปหามาสู่เรียก ไปยาม อย่างว่า พาเศรษฐีไปค้า พาหีหมอยไปยามย่า (ภาษิต) ยามใดบรบวนการชิค่อยคืนยามน้อง (สังข์). -
ยาม
แปลว่า : กู้ กู้ลอบกู้ไซเรียก ยามลอบ ยามไซ. -
ยาม
แปลว่า : ส่วนแห่งวันและคืน เรียก ยาม. -
ย่าม
แปลว่า : เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ ทำด้วยผ้า มีหูหรือสายสำหรับสะพาย เรียก ย่าม ถงย่าม ก็ว่า. -
ย้าม
แปลว่า : เหิม หย้าม ได้ใจ เช่น เคยได้อยู่ได้ กินก็อยากได้อยู่ได้กินอีก เรียก ย้าม อย่างว่า ได้อย่าย้าม บ่ได้อย่าหลาบ (ภาษิต). -
ย้ามย้าม
แปลว่า : หัวเราะอย่างร่าเริง เรียก หัวย้ามย้าม. -
ยามแลง
แปลว่า : เวลากินอาหารค่ำ เรียก ยามแลง อย่างว่า วันปลอดแจ้งมื้อใหม่ยามแลง ควรที่ปุนพิมมะบานฮีบเมือแหนถ้อย นางเมืองผู้แพงศรีจักฮอด แม่ท่านเจ้าติ่วสร้อยต้านสั่งทุกประการ (ฮุ่ง). -
ยาย
แปลว่า : แจก แบ่ง อย่างว่า พอดีแล้ววางพลูพร้อมหมาก น้ำหล่อเหล้าเพ็งแล้วลวดยาย (ฮุ่ง) ผลผลาหวานหว่านลงยายให้ (หน้าผาก). -
ย้าย
แปลว่า : เคลื่อนไป เปลี่ยนที่ อย่างว่า ควายย้ายไปหาบวก บวกบ่ย้ายมาหาควาย (ภาษิต) สองศรีย้ายคีงแพงลงท่า (กาไก) ภูธรย้ายเมือชานสรงโสรจ นางหนุ่มเมี้ยนมายผ้าลูบคีง (สังข์). -
ยายยัง
แปลว่า : แวดล้อมเรียก ยายยัง อย่างว่า ยายยังมาแวดระวังบาท้าว (ขุนทึง) ทังปวงประดับนั่งยังเป็นถ้อง (กาไก).