ภาษาอีสานหมวด "ย" 91 - 100 จาก 408

  • ยาว
    แปลว่า : ไม่สั้น ยืน นาน อย่างว่า ให้เจ้าเอายาวไว้คือสายโทรเลข บาดห่าเกิดเหตุฮ้อนยังชิได้เพิ่งสาย (ผญา) เชื้อชาติช้างหางยาวสนุกแกว่ง เชื้อไก่กุ้มหางก้อมแกว่งบ่คือ (ผญา).
  • ย้าว
    แปลว่า : เรือน เรียก ย้าว เหย้า ก็ว่า อย่างว่า มีวังบ่มีขอนขว้าง พรานเหบ่มีหย่อนมือแล้ว มีเฮือนบ่มีพ่อย้าวโจรชิเข้าลักของ (ย่า).
  • ย่าวย่าว
    แปลว่า : อาการที่น้ำไหลไม่ขาดสาย เรียก ย่าวย่าว อย่างว่า ย่าวย่าวน้ำต้องตาดตีนผา (กลอน) เมื่อนั้นย่าวย่าวหน้ามหาราชปิตา ชลธาไหลหลูดแดดอมน้อย ขอให้จอมใขม้างภวังค์หลังวางโทษ จริงเถิ้น พ่อก็ได้สลั้งหลงฮู้ฮ่าวกระทำ แท้แล้ว (สังข์).
  • ย้าวย้าว
    แปลว่า : น้ำค่อยไหลออกมาเป็นจำนวนมาก เรียก ไหลย้าวย้าว.
  • ยำ
    แปลว่า : มนต์ขลังเรียก มนต์ยำ ยาดีเรียก ยายำ อย่างว่า เขาก็เฮียนเอาแก้วมนต์ยำศาตรเพท (กาไก) อย่าอวดอ้างศิลปศาสตร์ยายำ (หน้าผาก) จบเพทด้วยมนต์ยากยายำ เทิงธรณีใผไป่ปุนปานเพี้ยง เป็นพงศ์เชื้อเวสสุวัณเทวราช พระให้ถือด่านด้าวเป็นเจ้าแห่งผี (สังข์).
  • ยำ
    แปลว่า : เคารพ นับถือ เคารพนับถือเรียก ยำ ยำเยง ยำแยง ยำเกรง ก็ว่า อย่างว่า ยำผีเถ้ายำเจ้ายืน (ภาษิต) ขาบพระเจ้าลุ่มฟ้าประนมท้าวที่ยำ (กาไก) เมียบ่มียำย้านถือผัวแข็งข่ม ฮือฮีตต้านจาฆ่าด่าผัว แลนา (ปัสเสน).
  • ย่ำ
    แปลว่า : เหยียบหนักๆ ซ้ำๆ เรียก ย่ำ อย่างว่า ฮอยย่ำพื้นสวนกว้างบ่มี (กาไก).
  • ย่ำ
    แปลว่า : ข่มเหง เบียดเบียน อย่างว่า ยาได้ยีย่ำย้อหยันซ้ำเสียดสะหาว (สังข์).
  • ย่ำ
    แปลว่า : ปกครอง อย่างว่า มาย่ำเกล้าฝูงข้าอิดูแด่ถ้อน (สังข์).
  • ย้ำ
    แปลว่า : พูดหรือทำซ้ำ เรียก ย้ำ.