ภาษาอีสานหมวด "ย" 61 - 70 จาก 408
-
ย่า
แปลว่า : แม่ของพ่อ เรียก ย่า หรือหญิงที่เป็นชั้นเดียวกับแม่ของพ่อ เรียก ย่า อย่างว่า ย่านี้เถ้าแก่แล้วเนื้อเหี่ยวหนังยาน หูตาเสียบ่คือยังน้อย มันบ่สอยวอยหน้าโสภาคือหนุ่ม ยามเมื่อเถ้าแก่แล้วแนวนี้ซู่คน แท้แล้ว (ย่า). -
ยาก
แปลว่า : ความลำบาก แยกออกได้เป็น ๒ คือ ยากกายและยากใจ อย่างว่า ถากไม้ขวานบ่เข้านี่กะยาก บ่มีเข้ากินลูกหลานหลายนี่กะยาก ตายบ่มีพี่น้องหามไปถิ่มนี่กะยาก ตอกลิ่มใส่ลายขัดนี่กะยาก ไปวัดมนต์เข้าหัวบ่อยู่นี่กะยาก ไต่ขัวไม้ลำเดียวนี่กะยาก (ภาษิต). -
ยากแค้น
แปลว่า : อัตคัตขัดสน เรียก ยากแค้น อย่างว่า ทุกข์บ่มีเสื้อผ้าฝาเฮือนเพกะพออยู่ ทุกข์บ่มีเข้าอยู่ท้องนอนลี้อยู่บ่เป็น (ภาษิต). -
ยากเย็น
แปลว่า : ลำบากมากเรียก ยากเย็น อย่างว่า ทุกข์หนึ่งลูกตายเสีย ทุกข์สองเมียตายจาก ทุกข์สามพรากพี่น้องหนีไปไกล ทุกข์สี่ลงไปไทยค้างัวต่าง ทุกข์ห้าผัวเมียฮ้างปะกัน ทุกข์หกไปนอนวันพรากพี่น้อง... (ภาษิต). -
ยากไฮ้
แปลว่า : ยากจนไม่มีอะไรจะกิน อย่างว่า ทุกข์ยากไฮ้ให้ได้อยู่นำกัน กลอยมันมีชิค่อยหาเอาเลี้ยง (ภาษิต). -
ยาง
แปลว่า : ชนชาติกระเหรี่ยง อยู่ทางเหนือของประเทศไทย เรียก ไทยยาง. -
ยาง
แปลว่า : ชื่อนกกินปลาพวกหนึ่ง ปากแหลมขายาว ชอบหากินตามชายน้ำ เรียก นกยาง. -
ยาง
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มียางใช้เป็นใต้สำหรับจุดให้สว่าง เรียก กระบองขี้ยาง ใช้ยางผสมชันยาเรือเรียก น้ำมันยาง อย่างว่า ยูงยางไม้ลมตีหักก่อง เชื้อหญ้าปล้องลมต้องบ่ตึง (กลอน). -
ย่าง
แปลว่า : ยกเท้าก้าวไปเรียก ย่าง อย่างว่า ย่างนำก้นผู้เถ้า ผีเป้าบ่จกกินตับกินไต (ภาษิต) ไปให้ไปช่าง ย่างให้ย่างงาม (ภาษิต) ผู้ดีย่างช้า ขี้ข้าย่างไว (ภาษิต) พังหลายยกย่างเชิงกระดิงก้อง (กาไก) เจ้าลุ่มฟ้าธรงช้างย่างไป (ฮุ่ง). -
ย่างซำ
แปลว่า : เดินช้าเรียก ย่างซำ อย่างว่า หมักหม่อมหน้าฝูงหมู่ทามแฮง ลงพายโชนย่างเชิงซำย้อง กูจักไกวกงเพี้ยงแยงยิงพร้อมพาบ ให้ท่านเจ้าทองล้านแต่งเมิน ซามตาย (ฮุ่ง).