ภาษาอีสานหมวด "ย" 41 - 50 จาก 408
-
ยอน
แปลว่า : ปลาสังกะวาด เรียก ปลายอน เป็นปลาน้ำจืด ชนิดไม่มีเกล็ด. -
ย่อน
แปลว่า : (สันธาน) เพราะ เหตุ อย่างว่า (กริยา) การขยับตัวขี้นและลงตามจังหวะดนตรี -
ยอม
แปลว่า : ตามใจ ไม่ขัด ตกลง ปลงใจด้วย อย่างว่า ยอมนกหอยอคอก่อด่อ ยอมนกเค้าตีนปุ้มหากชิหยุม (ภาษิต) ยอมข้อยยอมคนผอมอย่าฆ่า คนผีบ้าเจ้าอย่าหัวซา (กลอน). -
ย้อม
แปลว่า : ชุบด้วยสี เรียก ย้อม เช่น ย้อมสีดำสีแดง อย่างว่า บ่ย้อมบ่แดง บ่แปลงบ่ใหม่ (ภาษิต). -
ยอย
แปลว่า : สิ่งที่เป็นเส้นสายห้อยย้อยลงมา เรียก ยอย เช่น กิ่งไทร เรียก ยอยไฮ กระจอนหูที่มีระย้า เรียก กระจอนยอย อย่างว่า เล็งดอกไม้บานแบ่งตีนผา พุ้นเยอ เกียงลมเลียนยาบยอยประดับด้าว ภุมราแส้วแสวงคอยคันธชาติ มีหมู่นกหนุ่มน้อยกินบ่งต่อยตอง (สังข์). -
ย้อย
แปลว่า : หยาด หยด ไหล น้ำตาหยดเรียก น้ำตาย้อย อย่างว่า โสกีแค้นเคืองพระทัยหมองหม่น ก็บ่เหยเหือดน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์) ดาราพร้อมประกายยวงเยืองโลก เหมือยหยั่นย้อย เฮียวเฮื้อหน่วงหนาว (สังข์) สีสันหน้าใสงามย้อยยั่ง (กาไก). -
ยะ
แปลว่า : เปิดทางให้เดินเรียก ยะทาง อย่างว่า ท่อว่ายะหว่างไว้ช้างใหญ่คูณเมือง นั้นเนอ กูจักมวนเพนกวนหมู่หลวงไหลเข้า บอกแก่ขุนพลพร้อมขุนนายเนืองนั่ง ขุนใหญ่พร้อมโดยเจ้าอยู่ฟัง (ฮุ่ง). -
ยักข์
แปลว่า : ยักษ์ ยักโข ยักโขโน ก็ว่า (ป.) อย่างว่า ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีเผด มึงหากกดวาดเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์). -
ยักขิณี
แปลว่า : นางยักษ์ (ป.) อย่างว่า ฮุนที่มันทอดท้าวไทธิราชมีคืน มันก็วางศาลาแล่นตามตนเจ้า ฟังยินขีนีเอิ้นตามบาวีว่อน มันก็วอนจ้อยจ้อยเสียงน้อยแอ่วอวน (สังข์). -
ยัง
แปลว่า : คงอยู่ มี เช่น ยังมีชีวิตอยู่ ยังเหลืออยู่ ยังมีอยู่.