ภาษาอีสานหมวด "ย" 31 - 40 จาก 408

  • ย้อ
    แปลว่า : คนไทยเผ่าหนึ่ง เรียก ไทยย้อ อยู่ในท้องที่จังหวัดนครพนม.
  • ยอก
    แปลว่า : กระทอก เรียก ยอก กระแทกขึ้นกระแทกลง เช่น เอายางตังใส่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วยอกให้ตังเหนียว เพื่อติดจักจั่น แมงอี.
  • ยอง
    แปลว่า : ปุยนุ่นเรียก ยองนุ่น ปุยฝ้ายเรียก ยองฝ้าย อย่างว่า เขาก็วางหลาในบ่เข็นยองฝ้าย (กาไก) วรรณคีงขาวอ่อนปานยองฝ้าย (ขูลู) พี่บ่กลัวเกรงสังท่อใยยองน้อย (สังข์).
  • ยอง
    แปลว่า : ไก่ที่มีขนงอหงิกและขนพองไปตามตัวเรียก ไก่ยอง ไก่หยอง ก็ว่า อย่างว่า ติบ่อนใดติอ้ายบ่อนใด ติว่าผมอ้ายหยอง ตั้งแต่ไก่อี่ยองแม่เจ้าก็ยังเลี้ยง (กลอน).
  • ยอง
    แปลว่า : พูดจา อย่างว่า ยองคำต้านภาษาสัตว์สิ่ง (กาไก).
  • ย่อง
    แปลว่า : ขยี้ เรียก ย่อง ออกเสียง หย่อง เช่น ย่องเข้าปุ้น ย่องเข้าปาด ย่องหมาน้อย ย่องยานาง เป็นต้น.
  • ย้อง
    แปลว่า : ยกย่อง สรรเสริญ การยกย่องสรรญเสริญ เรียก ย้อง อย่างว่า นับแต่ผู้ผ่านด้าวธรงผนวชเจ็ดเดือน ประสงค์คลองวัตรเคี่ยมคมเฮียนฮู้ ปรากฏไท้มหาเถรกุศราช ทุกที่เที้ยนยอย้องยอดธรรมแท้แล้ว (สังข์) ดั่งนั้นเทเวศเจ้าแผ่นฟ้ายอย้องช่อยชู (ฮุ่ง).
  • ย้อง
    แปลว่า : ประดับ ตกแต่ง อย่างว่า สองนายธรงอาภรณ์พร่ำสีประสงค์ย้อง (สังข์) แต่นั้นผานผานเบื้องเงินยางอั้วค่า ย้องเครื่องเข้าทรงช้างเฮื่อคำ (ฮุ่ง).
  • ย่องย้อ
    แปลว่า : กระโหย่ง นั่งกระโหย่ง เรียก นั่งย่องย้อ อย่างว่า บ้านข้อยพุ้นบ่อึดบ่อยาก ปวดท้องขี้ไปงอยหลังเต่า หักไม้แก้งไปถึกขากวาง ซวงมือไปถึกหางเหนอ้ม ก้มลอดฮั้วหมากถั่วแทงตา มึนตาจึ้นหมากสีดาหล่นใส่ นั่งย่องย้อเครือกล้วยทั่งหัว (กลอน).
  • ย่องย่อง
    แปลว่า : เหาะหรือบินไปด้วยอิทธิฤทธิ์ อย่างว่า ย่องย่องผ้ายอากาศเวหา (กาไก) เดินเร่งรีบ อย่างว่า ย่องย่องดั้นเดินตาดตนเดียว ฟังยินแซวแซวถัวเล่าลางตันต้อน ทวายทองเค้าคณาหลวงเหลียวผ่อ มอมม่ายเต้นตามผู้หลีกไกล (สังข์).