ภาษาอีสานหมวด "ย" 21 - 30 จาก 408
-
ยวดยาน
แปลว่า : เครื่องขับขี่ มีรถ เรือ เกวียน เสลียง ตานหาม เรียก ยวดยาน อย่างว่า เขาก็เชิญกุมารีสู่ยานคนกุ้ม (กาไก) พร้อมพาบขึ้นยานยอดคำเหลือง (สังข์). -
ยวน
แปลว่า : ชื่อชนชาติกรีก เรียกชาวไทยทางลานนาไทยว่า ไทยยวน เพี้ยนเป็น โยน หรือ โยนก ก็มี. -
ยวบ
แปลว่า : อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น เดินข้ามสะพานไม้ที่ไม่แข็งแรงสะพานจะอ่อนยวบยาบ. -
ย้วย
แปลว่า : เหลวยืดออกได้ เช่น น้ำอ้อยที่เหนียว เรียก น้ำอ้อยย้วย. -
ย้วยย้วย
แปลว่า : อาการที่คนเดินไปตามหลังกันไปเรียก ย่างย้วยย้วย. -
ยศ
แปลว่า : ความยกย่องนับถือเกีรติของตน เกียรติคุณ เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล เรียก ยศ อย่างว่า ฮ้อยที่ยศแผ่เท้าทุกทีปนครคน (สังข์) (ป.ส. ยส). -
ยโส
แปลว่า : เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้มีกำลัง มีทรัพย์ เป็นต้น เรียก ยโส โยโส ก็ว่า อย่างว่า สูหากแนวโยโสล่วงแดนมาอ้าง (กาไก). -
ยอ
แปลว่า : พูดให้ถูกใจ ยกย่อง ชม อย่างว่า มีผัวให้ช่างย้อง มีน้องให้ช่างยอ (ภาษิต). -
ยอ
แปลว่า : ยก ยกมือเรียก ยอมือ อย่างว่า ยอมือนบขาบกรกลอยไหว้ (สังข์) ชาติที่ยอเงิงไง้ขอนเห็นดูหลาก คันบ่เข็บก็งอดเงี้ยวงูฮ้อยหากมี บ่อย่าแล้ว (กลอน). -
ย่อ (หย่อ)
แปลว่า : ผ้าขี้ริ้วของวัวควาย เป็นแผ่นบางๆ เรียงกันเป็นชั้นๆ เรียก ย่องัวย่อควาย สามสิบกีบ ก็ว่า.