ภาษาอีสานหมวด "ย" 51 - 60 จาก 408

  • ยัง
    แปลว่า : ยัง ไม่สำเร็จ ไม่ตลอด เหลือ เช่น ยังบ่ไป ยังบ่มา ยังบ่เฮ็ด.
  • ยั่ง
    แปลว่า : ตลอด ทั้งสิ้น เช่น ฝนตกตลอดคืน เรียก ฝนตกยั่งคืน นอนหลับตลอดวัน เรียก นอนยั่งมื้อ อย่างว่า บาบ่าวท้าวชมน้อยยั่งคืน (โสวัจ).
  • ยั้ง
    แปลว่า : หยุดไว้ พักอยู่อย่างว่า บาก็พักเมื่อยยั้งยามหนึ่งเดินไป ธรงตนเลยล่วงตามตนน้อง หลิงผาด้าวดอยขวางเขามาศ คือฮูปช้างทยานล้ำล่วงโขลง (สังข์).
  • ยั่งยั่ง
    แปลว่า : หยด ย้อย ไหล อย่างว่า สองก็ยั่งยั่งย้อยฮำราชอุณหกะ ภูมีเมิลมุ่งดูดาถ้วน พระก็มีคำเท้าอัยโกมหาเอก สูค่อยค้ำพลถ้าส่ำราญ แด่รือ (สังข์) ยั่งยั่งน้ำย้อยเนตรนองไหล ยินอาฮมณ์ดั่งปานเป็นบ้า ดูดั่งฮามเฮือนแก้วกูไกลกินโศก เวรนี้พระพี่คึดเพื่อหน้าคนิงไว้แว่นทวง.
  • ยับยับ
    แปลว่า : แสงแวบๆ ยิบๆ อย่างว่า เสียงพาดฆ้องเดิงเดิดกาละสับ ระงมนันยิ่งครางคุงฟ้า ยับยับเหลื้อมจามรไกวแกว่าง บานั่งฮ้านเทิงแท่นอิงหมอน (ฮุ่ง) หลิงเห็นยับยับเหลื้อมดาราแฝงพ่าง (ฮุ่ง).
  • ยัวรยาตร
    แปลว่า : เดินไป อย่างว่า เมื่อนั้นศิลป์ชัยท้าวจาสารชมชื่น เฮาจักไปแปรม้างมารต้องต่อมือ แท้แล้ว ค้อมว่าบาแถลงแล้วลาสารยัวรยาตร ช้างก็แหนแห่เจ้าจอมช้อยส่งไป (สังข์).
  • ยัวรแย้ม
    แปลว่า : สวยสด อย่างว่า ผิวโสดย้อยยังยิ่งพระแขไข ภูมีทรงโฉมสดฉลาดคมยัวระแย้ม เหมือนดั่งเทพาไล้ริจนานำฮูป พระก็เป็นหน้าท้าวเสมอฟ้าแทบอินทร์ (ฮุ่ง).
  • ยัวระย้าย
    แปลว่า : เดินไปมา อย่างว่า ยามเมื่อลีลาคือคู่หงส์ยัวระย้าย (ฮุ่ง).
  • ยัวะ
    แปลว่า : ตำหนักๆ เช่น ตำหมากส้มครกใหญ่ เรียก ยัวะหมากส้ม.
  • ย่า
    แปลว่า : ใช้เป็นคำห้าม ย่อมาจากอย่า อย่างว่า ยามเมื่อผัวโกรธกล้าเมียค่อยฟังสงัดอยู่เนอ ยามเมื่อเมียพวมฟุนผู้ผัวยาเตื้อง (หน้าผาก) ยาได้หึงหวงห้ามไปมาให้มีหมู่มีพี่น้องนำก้นกะอุ่นใจ ไปกับอ้ายนำทางชิได้ม่วน ฮอดฮ่มไม้ยังชิได้หยอกกัน (กลอน)