ภาษาอีสานหมวด "ล" 341 - 350 จาก 601

  • เลียบล่ำ
    แปลว่า : ตรวจดูรอบตัวให้ทั่วถึง เรียก เลียบล่ำ อย่างว่า เมื่อนั้นบาก็ผายเชิงขึ้นขนงทวารเลียบล่ำ แลข่วงคุ้มเห็นถ้วนซู่เซิง (สังข์).
  • เลี้ยม
    แปลว่า : หุ้ม ฟันหุ้มทอง เรียก แข้วเลี้ยมทอง พระพุทธรูปหุ้มเงิน เรียก พระเลี้ยมเงิน หุ้มทอง เรียก เลี้ยมทอง.
  • เลื่อ
    แปลว่า : เครื่องมือสำหรับตัด ทำด้วยเหล็กกล้า ที่คมเป็นฟันจักๆ โบราณเรียก เลื่อ ปัจจุบันเรียก เลื่อย.
  • เลือก
    แปลว่า : คัด เจาะจง การคัดหรือเจาะจงเอาสิ่งที่ชอบใจ เรียก เลือก อย่างว่า เลือกผักถืกบ้ง เลือกขาจ้งถืกขามะเฮ็ง (ภาษิต).
  • เลื่อคอ
    แปลว่า : ตัดด้วยเลื่อย เรียก เลื่อคอ อย่างว่า เจืองใครให้ไปมอบขุนเยีย มันบ่ขืนคำเฮาฮีบตาปุนป้าน ผัดว่ากวนแกวซ้ำเทิงปะกันเสียสว่าย เฮาแล้ว ผิบ่ได้ดั่งนั้นตาวล้วนเลื่อคอ (ฮุ่ง).
  • เลือด
    แปลว่า : น้ำสีแดงซึ่งซุ่มอยู่ภายในตัวตนหรือสัตว์ เรียก เลือด อย่างว่า เลือดหลั่งย้อยแดงเข้มดั่งฝาง (กา).
  • เลื่อน
    แปลว่า : เคลื่อน ไหล สิ่งของที่เคลื่อนจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เรียก เลื่อน.
  • เลื่อนเลื่อน
    แปลว่า : น้ำที่ไหลไม่ขาดสาย เรียก น้ำไหลเลื่อนเลื่อน อย่างว่า เลื่อนเลื่อนน้ำตาหลั่งไหลตก มือคัวอกฮ่ำไฮทังไห้ (กา).
  • เลือม
    แปลว่า : บังตัว หายตัว การเสกมนต์หรือคาถาแล้วคนมองไม่เห็น เรียก เลือมออย่างว่า เชื้อต่างด้าวธรดั้นลอบเลือม (สังข์) ฮู้ว่าเศิกต่างบ้านโจรเข้าลอบเลือม ฮู้เด (ฮุ่ง).
  • เลื้อย
    แปลว่า : เรื่อย เสมอ ไม่ขาดระยะ ทำไม่ขาดระยะ เรียก เฮ็ดเลื้อยเลื้อย อย่างว่า เว้าเลื้อยเลื้อยจนปากเปื่อยสบเพ เว้าแฮงแฮงจนปากแข็งปานไม้ (บ.).