ภาษาอีสานหมวด "ล" 351 - 360 จาก 601

  • แล
    แปลว่า : เห็น ดู อย่างว่า แลไปหน้าไพรหนาแสนย่าน ผลผลาหมากไม้ดวงส้มเฝื่อนขม (กา).
  • แล้
    แปลว่า : หน้าผากราบ หัวเถิก เรียก คนหัวแล้.
  • แลก
    แปลว่า : ซื้อของด้วยของ หรือเอาสิ่งหนึ่งเปลี่ยนกับสิ่งหนึ่ง เรียก แลก เช่น เอาข้าวแลกปลา เอายาแลกปลาแดก เอาเข้าตอกแตกแลกพลู เผี่ยน ก็ว่า.
  • แลง
    แปลว่า : เวลาเย็น เวลาตะวันจวนจะตกดิน เรียก เวลาแลง หรือ ยามแลง อย่างว่า ชมลูกไม้ยามแล้งเมื่อแลง (กา) ผ่อเห็นวันสอดไม้ลับเหลี่ยมเมื่อแลง (กาไก) พี่ก็อดอยู่แล้งลืมเข้าขาดแลง (ฮุ่ง) ดาแลงตั้งทุกขุนครบคู่ (สังข์).
  • แล่ง
    แปลว่า : ฉีกผ้าให้ขาดเป็นชิ้นๆ เรียก แล่งผ้า ผ่าไม้เป็นชิ้นๆ เรียก แล่งไม้ ใต่สวนเอาความผิดจากคนผู้ทำความผิด เรียก แล่งความ จั๋วแล่ง ก็ว่า.
  • แล้ง
    แปลว่า : แห้ง ไม่มี เปล่า นอน ไม่มีคู่เคียง เรียก นอนแล้ง อย่างว่า ภูวนาถท้าวเนาแล้งต่างแลง (ฮุ่ง) ข้าวขาดแลง แกงขาดหม้อ เรียก อยู่แล้ง อย่างว่า พี่ก็อดอยู่แล้งลืมเข้าขาดแลง (ฮุ่ง) ฤดูที่ฝนไม่ตกเรียก ระดูแล้ง ยามแล้ง ก็ว่า.
  • แลด
    แปลว่า : ทาบางๆ เช่น ทำถนนลาดยาง ถ้าจะลาดยางมากๆ ก็เกรงว่ายางจะไม่พอ จึงจำเป็นต้องลาดบางๆ การลาดยางบางๆ นี้เรียก แลดยาง.
  • แลน
    แปลว่า : ตะกวด ตะกวดเป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง เรียก แลน อย่างว่า แลนลิ่นเหม้นเหนอ้มชอกอม (กาไก) ลือนาถเท้าทึ่เขาขาม ฝูงเขาชาวภูมอญอยู่ดงดาต้อน เขาก็ปุนพอพร้อมหลายหามของฝาก แลนลิ่นจ้อนทังไก้ไก่ยูง (ฮุ่ง).
  • แล่น
    แปลว่า : วิ่งไปอย่างรวดเร็วไว เรียก แล่น อย่างว่า เฮวแฮงดั้นนำนางเต้นแล่น (กา).
  • แล้นแค้น
    แปลว่า : วงกลม ดุจวงกลม หญิงที่มีหน้าดุจวงพระจันทร์ เรียก เจ้าแล้นแค้น อย่างว่า เจ้าแล้นแค้นผักแว่นเครือคำ สังบ่ไปเกิดก้ำขงอุบลคำให้อ้ายล่ำ คันแม่นไปเกิดพุ้นบ่มีให้อยู่ดน บ่ให้คนเห็นหน้าเป็นสาวหลายเทื่อ (ผญา).