ภาษาอีสานหมวด "ล" 361 - 370 จาก 601
-
แล่นจั้นจั้น
แปลว่า : วิ่งเร็วดุจลมพัด เรียก แล่นจั้นจั้น อย่างว่า แล่นจั้นจั้นเหมือนปิ่นเวียนลม (ผาแดง) ปิ่นคือ หมากปิ่น กังหันลม ก็ว่า. -
แล่นซำ
แปลว่า : วิ่งไม่เร็วแต่ไม่หยุด เรียก แล่นซำ เช่น ม้าวิ่งไม่หยุดว่า แล่นซำ อย่างว่า ขึ้นขี่ม้าตีลิ้วแล่นซำ (ผาแดง) ชาดชาดช้างซำแล่นเลยงา พานคำนอนฮ่มโฮงพิดานกั้ง อันนี้ลอนแหนให้ภูธรฮู้ฮ่าง อันจักนับพลท่านเจ้าติ่วสร้อยลือล้ำเอนกนอง (ฮุ่ง). -
แลนโมน
แปลว่า : ตะกวดใหญ่ เรียก แลนโมน แลนโมนเป็นแลนชนิดใหญ่กว่าแลนธรรมดา อย่างว่า ใผห่อนกินแกงแข้แลนโมนตางเหยื่อ เป็นเด (ขูลู). -
แลบ
แปลว่า : ละเอียด อ่อน เส้นผมที่ละเอียดอ่อน เรียก เส้นผมแลบ อย่างว่า เกษาเส้นดกดำเลิงแลบ (ผาแดง) ผ้าที่ทอด้วยใยละเอียด เรียก ผ้าแลบ นิ้วมือที่เรียวแหลมเรียก นิ้วแลบ อย่างว่า ดูที่นิ้วแลบเล้มประเหียลสอดซวยคำ (กา). -
แลบ
แปลว่า : ไฟที่พุ่งออกมา เรียก ไฟแลบ ลิ้นที่ยื่นออกมา เรียก แลบลิ้น. -
แลบแซบ
แปลว่า : สิ่งที่มีลักษณะบางและแบน เรียก แปแลบแซบ ถ้าบางแบนและใหญ่ เรียก เปเลบเซบ. -
แลมแลม
แปลว่า : คนที่พูดไม่หยุดแต่เสียงค่อนข้างเบา เรียก เว้าแลมแลม เสียงค่อนข้างหนัก เรียก เว้าลวบลวบ. -
แลว
แปลว่า : เส้น เกลียว ฝั้นเชือกสามเกลียวให้ติดกัน เรียก เชือกสามแลว สามแกว ก็ว่า. -
แลว
แปลว่า : โสด ว่องไว หญิงที่ยังโสดเรียก สาวแลว สาวแวว ก็ว่า อย่างว่า ฮื่นฮื่นพร้อมฝูงหมู่ทาสี สามพันปลายเปลี่ยวแลวสาวใช้ งัวควายแท้ทอระพีพอหมื่น ปูนแต่งให้พันพร้อมคู่เฝือ (ฮุ่ง). -
แล้ว
แปลว่า : เสร็จ สิ้น จบ พูดจบเรียก เว้าแล้ว ทำเสร็จเรียก เฮ็ดแล้ว แต่งจบเรียก แต่งแล้ว อย่างว่า ยุตินั้นเป็งจาลทุกข์โศก ก็หากแล้วท่อนี้ถวายไว้ที่สูงก่อนแล้ว (สังข์).