ภาษาอีสานหมวด "ล" 371 - 380 จาก 601

  • แล้วแอ้ว
    แปลว่า : บิดตะแคง ปีนเกลียว ไม่กินเกลียวกัน ของเล็กเข้ากันไม่ได้ เรียก บิดแล้วแอ้ว ถ้าของใหญ่ เรียก บิดล้าวอ้าว.
  • และ
    แปลว่า : กับ ด้วย ของหลายอย่างเช่น ข้าวกับน้ำ เรียก ข้าวและน้ำ อย่างว่า เข้าและน้ำบ่ได้ต่าวตำตัก หลัวและฟืนบ่ได้ไปดงกว้าง ตัณฑุลาเข้าสาลีบ่มีเปลือก มีแต่เม็ดอ้อยซ้อยสองข้าง แค่ทาง (กาพย์).
  • โล
    แปลว่า : ตาที่โปออกมา เรียก ตาโล,
  • โล่
    แปลว่า : ปากที่อ้าไม่หุบ เรียก ปากโล่.
  • โล้
    แปลว่า : ดนตรีประเภทปี่ ในจำพวกปี่แทด ปี่แถ ปี่ห้อ ปี่โล้ ปี่โล้นี้โบราณเรียกปี่หลู้ เป็นปี่ใหญ่ของชาวทิเบต ใช้เป่าในงานนมัสการสังเวชนียสถาน คือที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ที่แสดงธรรมจักร ที่ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้าในอินเดีย ชาวทิเบตจะหามปี่หลู้มาโดยสองคนหามข้างหน้า อีกคนหามข้างหลังพร้อมเป่า ปากปี่กว้าง ก้นปี่เล็ก.
  • โล้
    แปลว่า : นูน พอง โป คนตานูนตาพอง หรือตาโป เรียก คนตาโล้.
  • โล้
    แปลว่า : เครื่องปิดป้องศัตราวุธอย่างหนึ่ง มีรูปต่างๆ เช่น โล้ตั้ง โล้เขน เรียก โล้ อย่างว่า สองปากข้างปักหอกยังทวน สีโลกันโล้เขนไปตั้ง ยังในนั้นเจ็ดพันข้ามหาด ถือคาบง้าวระวังเจ้าแนบจำ (ฮุ่ง).
  • โลง
    แปลว่า : หีบสำหรับบรรจุศพ.
  • โล่ง
    แปลว่า : พูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).
  • โล้งโค้ง
    แปลว่า : เขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน