ภาษาอีสานหมวด "ห" 521 - 530 จาก 1363
-
หว้าย
แปลว่า : ว่าย ข้าม ข้ามป่าดงพงไพร เรียก หว้าย อย่างว่า นางก็ผัดผาดถ้อยแปสั่งบัวทอง มึงเยียะไขคำเมืองกล่าวกลอนเถิงเถ้า บัดนี้บุญกองเจ้าขาชายใช้กล่าว ชวนลูกหว้ายป่าไม้ไปเฮ้าฮ่มผา (ฮุ่ง) หว้ายป่าคู้ไกลน้องไอ่คำ (ผาแดง) สายนามน้อยคนิงตรอมตามแม่ เฮาก็หว้ายหว่างไม้มานี้เพื่อใผ แม่เอย (สังข์). -
หวิด
แปลว่า : เลยไป ผ่านไป พ้นไป อย่างว่า หนีบ่ม้ม ก้มบ่หวิด (ภาษิต) วิดน้ำรดกล้า เรียก หวิดน้ำใส่กล้า วิดน้ำอาบ เรียก หวิดน้ำอาบ ถึงพอดี เรียก พอจุหวิด พอจุหวิดจุหว่าง ก็ว่า เช่นทำนาได้เข้ากินพอถึงปี. -
หวี
แปลว่า : สิ่งที่ทำเป็นซี่ๆ ใช้สางผมและเส้นด้าย เรียก หวี อย่างว่า ผมบ่หวีป้องชิเป็นฮังนกเป็ดป่อง (บ.). -
หวึ้นหวึ้น
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เสียงลมพัดใบไม้ดังหวึ้นหวึ้น. -
หอ
แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่บินสูง เรียก นกหอ นกเหาะ ก็ว่า อย่างว่า ยอมนกหอยอคอจ่อด่อ ยอมนกเค้าตีนปุ้มหากชิหยุม (ภาษิต). -
หอคำ
แปลว่า : เรือนประทับของพระมหากษัตริย์ เรียก หอคำ อย่างว่า แม่ก็อุ้มกอดน้อยขึ้นสู่หอคำ (ขุนทึง). -
หอช่อฟ้า
แปลว่า : พระราชมณเทียรที่มีช่อฟ้าเรียก หอช่อฟ้า อย่างว่า แล้วถ่ายผ้าเสด็จฮอดเฮือนขวาง พลตามประดับคั่งเกยเลียนล้อม วันนั้นพันตาใช้กาเดินบอกข่าว จับอยู่หอช่อฟ้าเวียนเว้าเล่าลา (สังข์). -
หอแต่ง
แปลว่า : หอพระราชพิธี เกี่ยวกับหอที่เจ้าเมืองจะทำพิธีมงคลเกี่ยวกับบ้านเมือง อย่างว่า มีทังสนามหลวงกว้างหอชัยหอแต่ง (ขุนทึง). -
หอผาสาท
แปลว่า : เรือนที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม ซึ่งเป็นที่ประทับของพระราชามหากษัตริย์ เรียก หอผาสาท. -
หอลาย
แปลว่า : หอประทับพระราชินี เรียก หอลาย อย่างว่า เดือนสี่เสี้ยงใสสะอาดปลงหงาย บาก็เต็งคำควรสั่งคอนแควนแจ้ง มึงเยียะไปเถิงเจ้าหอลายง้อมม่วน นั้นเนอ บัดนี้น้องอยู่แล้งลืมเข้าห่างเพลา ว่าเนอ (ฮุ่ง).