ภาษาอีสานหมวด "ห" 501 - 510 จาก 1363
-
หลู
แปลว่า : แท้งลูก เรียก หลูลูก ข้องทะลุเรียก ข้องหลู หวดหลู. -
หลูด
แปลว่า : หลุด ตก อย่างว่า พระบาทยกเครื่องผ้าซ้องเสี่ยงสองสวน ฝูงนี้เป็นของขุนแขกเมือมาต้อน เฮาแล้ว คือควรแท้ของนางน้องเสี่ยง จริงรือ นางก็ทูลแท่นพื้นเห็นแล้วหลูดใจ (สังข์) เจ้าทอดถ้อยสอนสั่งเสียงวอน เมื่อนั้นสองคราญสลบหลูดแดดาขว้ำ เทื่อนี้เวราฮ้ายเวรังเวียนครอบ บ่ห่อนได้อยู่ล้ำเมืองกว้างเพื่อนพลแลซาม (ฮุ่ง). -
หลูบ
แปลว่า : ควายทะยานจะขวิด เรียก ควายหลูบใส่. -
หลูบลิลู
แปลว่า : รีบกระโดด อย่างว่า อ้ายนี้คนผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้ (ผญา). -
หวง
แปลว่า : ไม่อยากให้ สงวนไว้ กันไว้ อย่างว่า บางพ่องฟันตาวตั้งกลางหาวหวงดอก ก็มี ธรเทพเถ้าฝูงฮ้ายฮ่อนมา (สังข์) อ้ายหาดให้ขอว่าขันอวน เจืองบ่ห่วงคำมันฮีบเอาไปป้อน ชื่อว่าแมนมวลช้างหลายกือตั้งต่อ ก็ดี ขานี้เป็นดั่งฟืนค่าข้อเลยช้อนใส่ไฟ (ฮุ่ง). -
ห่วง
แปลว่า : ร่วงโรย หล่น ใบไม้ที่แก่แล้วล่วงหล่นลงไป เรียก ใบไม้ห่วง อย่างว่า แม้นว่าสาขาไม้ในดงเป็นหมาก ตกสืบไว้เป็นหล้าชิห่วงเสีย (ขุนทึง). -
ห่วง
แปลว่า : ผูกพัน กังวล พะวง อย่างว่า เมื่อนั้นท้าวใหญ่ฮู้ฮับพากย์เทโว พงศ์พันธุ์ยังค่อยคงคบหน้า ท่อแต่โสกีก้ำแดนใดหายห่วง แค้นแต่ข้าพระบาทเจ้าใจข้องขอดขนัง (สังข์). -
หวด
แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับนึ่งข้าวเหนียว นึ่งกบนึ่งเขียด นึ่งผักนึ่งหญ้า เรียก หวด. -
หวด
แปลว่า : ตี ฟาด ตีลงไปแรงๆ เรียก หวด. -
หวน
แปลว่า : เวียนกลับ วกกลับ เรียก หวน อย่างว่า ทุกข์หนึ่งแล้วหวนซ้ำใหม่แถม แลนอ (สังข์).