ภาษาอีสานหมวด "ห" 481 - 490 จาก 1363
-
หลี้
แปลว่า : ชื่อนกตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ชอบอยู่ตามพื้นดิน เรียก นกขุ้มหลี้ อย่างว่า นกขุ่มหลี้สี้นกขุ้มม้า ผู้สาวหลกกล้าหน่อแตดเหลียวหลัง (สอย). -
หลี้
แปลว่า : คนที่มีรูปร่างดำจนเลื่อม เรียก ดำขี้หลี้ อย่างว่า เห็นว่าดำขี้หลี้อย่าฟ้าวขี่เฮือกลาย เห็นว่าดำขอยลอยอย่าฟ้าวพายเฮือเว้น บาดท่าเฮือคาแก้งดำขอยลอยชิได้ช่อย คันบ่ได้ช่อยน้อยยังชิได้ช่อยหลาย (ผญา). -
หลีก
แปลว่า : หลบ เลี่ยง อย่างว่า หลีกลิงให้ไกลสามศอก หลีกวอกให้ไกลสามวา หลีกคนพาลาให้ไกลสามโยชน์ (ภาษิต) เหตุว่าหมองหมื่นชั้นสองภาคเพ็งเสมอ เป็นดั่งแปวชะเลไหลหลีกคอนไคลได้ เมื่อนั้นความเซ็งเท้าเป็งจาลฮู้เหตุเยาวราชผู้คีงค้อมแม่เมือง (สังข์). -
หลึน
แปลว่า : เหงื่อที่ปนกับขี้ผงติดอยู่ตามซอกคอ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เรียก ขี้กะหลึน ขี้ตะหลึน ขี้ตะลุ่ย ก็ว่า อย่างว่า แก้มปุ่ยลุ่ยแก้มเจ้าปุ่ยลุ่ย ขี้กะลุ่ยแต่น้อยบ่เป็นตาอยากชม บาดเจ้าใหญ่ขึ้นมาเหลียวเบิ่งขากลมกลม เหลียวเบิ่งนมขาวขาว ฮาวท้องสีพันพัน อยากลั่นโส้งเข้าใส่อยู่จ่าวจ้าว (กลอน). -
หลึม
แปลว่า : ชื่อหวายชนิดหนึ่ง ลำใหญ่และเส้นยาว เรียก หวายหลึม อย่างว่า ผ่อเห็นหวายหลึมล้นดงขวางเขามืด (หน้าผาก) ละข่วงกว้างแปนเปล่าหวายหลึม โฉมคราญเมือเมืองบนจากตูฦูงข้อย ออระทึมฟ้าบดบนลมล่วง เมื่อนั้นเจ้าติ่วสร้อยแถนฟ้าเลิกมวล (ฮุ่ง). -
หลึม
แปลว่า : รก ชัฏ ป่าที่รก เรียก ป่าหลึม อย่างว่า ลัดล่วงผ้ายล้านหลืบหลึมเหมือย กลายแดนคนด่วนเถิงแถนฟ้า เมื่อนั้นชะบุหน้าแถนหลวงหลิงโลก เห็นแก่นแก้วนงหน้าฮ่ำคาญ (ฮุ่ง) อุณณโหแห้มคือไฟควันฮมลวก ไกลพี่เพี้ยงดินฟ้าต่างหลึม (ฮุ่ง). -
หลึ้ม
แปลว่า : ทึบ หนา ทู้ คนทึบ เรียก คนหลึ้ม อย่างว่า เฮียมพี่ใบ้ผ่อนเพี้ยงผญาหลึ้มล่อยสูญ (หน้าผาก) พร้าขี้เหมี้ยง เรียก พร้าขี้หลึ้ม อย่างว่า คือดั่งพร้าขี้หลึ้มคมเป้เพิ่นบ่ฝน (บ.). -
หลึ้มหลึ้ม
แปลว่า : ดำจนเลื่อม เรียก เขียวหลึ้มหลึ้ม. -
หลืบ
แปลว่า : ช่อง ชั้น ช่องภูเขาที่เป็นชั้นๆ เรียก หลืบ อย่างว่า ในหลืบก้อนหาเสี้ยงซู่ภาย (ขูลู) ลัดล่วงผ้ายหลายหลืบหลึมเหมือย กลายแดนคนด่วนเถิงแถนฟ้า (ฮุ่ง). -
หลุ
แปลว่า : ทะลุ เช่น ก้นตะกร้าทะลุเรียก ก้นกะต่าหลุ แท้งลูก เรียก หลุลูก หลูลูก ก็ว่า อย่างว่า เห็นว่าปลาทอต้อนหมายชิตำปลาแดก บาดห่าต้อนเจ้าหลูคูเว้าฮ้งชิพายข้องปึ่งดัง (ผญา).