ภาษาอีสานหมวด "ห" 546 - 555 จาก 1363
-
ห้อม
แปลว่า : ชื่องูชนิดหนึ่ง มีพิษร้ายแรง เรียก งูเห่าห้อม อย่างว่า ชาติที่งูเห่าห้อมโตใหญ่สาระพิษ (ป.). -
ห้อย
แปลว่า : แขวนติดอยู่ ติดตาม อย่างว่า เทื่อนี้เสียยศแท้ทังสินศักดิ์ดื่ม แลนอ เป็นเพื่อบาปก่อกุ้มกรรมห้อยห่างบุญ แท้แล้ว (สังข์) แม้นว่าเถิงยศได้กะกุลนามในราชก็ดีถ้อน กูบ่มีขึ้นห้อยหาพร้อมเพิ่งความ แลเด (สังข์). -
หั้ง
แปลว่า : ถ้า ผิ หาก หากเป็นหั้ง อย่างว่า กูหั้งว่าหละ กูบอกมันแล้วมันหั้งบ่ฟังความกู (บ.). -
หัดแข้ว
แปลว่า : ระคายฟันเวลาเคี้ยวอาหารที่มีกรวดหรือทรายเป็นต้น เรียก หัดแข้ว อย่างว่า ตั้งหากกินหัดแข้วจำเป็นปางยาก (เวส). -
หัตถกรรม
แปลว่า : การทำในโรงงานอุตสาหกรรม. -
หัตถี
แปลว่า : ช้าง ช้างตัวผู้ อย่างว่า เมื่อนั้นพึงคณาช้างหัตถีแสนส่ำ เห็นแจ่มเจ้าใจสท้านทั่วไพร (สังข์) ยศยิ่งล้ำเถิงขอบชมพูหลายขุนเขาย่าลัวเมือเฝ้า เมื่อนั้นหัตถีช้างนำมามีขาด ดั้นเถื่อนถ้องไพรกว้างขาบถวาย (ฮุ่ง). -
หัน
แปลว่า : เร็ว ไว เช่น วิ่งเรวเรียก แล่นหัน ปิ่นไว เรียก ปิ่นหัน. -
หัน
แปลว่า : เห็น เมืองเหนือพูดว่า หัน หมายถึงเห็น เช่น ไปหันเสือ เรียก ไปเห็นเสือ อย่างว่า ค่าวค่าวขึ้นเถองที่จอมสูง คอยไกลหันซู่เมืองไทท้าว ภายลุงอั้วอามคายขึ้นแข่ง ทุกที่ด้าวนางเหน้าหนุ่มพระกัน (ฮุ่ง). -
หั่น
แปลว่า : เอาของวางลงบนเขียงแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ เรียก หั่น เช่น หั่นปลา หั่นเนื้อ หั่นผัก หั่นแตง. -
หัย
แปลว่า : ม้า (ป. ส. หย) อย่างว่า ยาบยาบย้ายช้างใหญ่เฮียงเกย ไสวฝูงบ่าวชายโยงย้าย หัยหัยแส้ทุงยูย้ายย่าง หลายหลั่นด้างเลียนพร้อมพร่ำงาม (ฮุ่ง).