ภาษาอีสานหมวด "ห" 551 - 560 จาก 1363

  • หัตถี
    แปลว่า : ช้าง ช้างตัวผู้ อย่างว่า เมื่อนั้นพึงคณาช้างหัตถีแสนส่ำ เห็นแจ่มเจ้าใจสท้านทั่วไพร (สังข์) ยศยิ่งล้ำเถิงขอบชมพูหลายขุนเขาย่าลัวเมือเฝ้า เมื่อนั้นหัตถีช้างนำมามีขาด ดั้นเถื่อนถ้องไพรกว้างขาบถวาย (ฮุ่ง).
  • หัน
    แปลว่า : เร็ว ไว เช่น วิ่งเรวเรียก แล่นหัน ปิ่นไว เรียก ปิ่นหัน.
  • หัน
    แปลว่า : เห็น เมืองเหนือพูดว่า หัน หมายถึงเห็น เช่น ไปหันเสือ เรียก ไปเห็นเสือ อย่างว่า ค่าวค่าวขึ้นเถองที่จอมสูง คอยไกลหันซู่เมืองไทท้าว ภายลุงอั้วอามคายขึ้นแข่ง ทุกที่ด้าวนางเหน้าหนุ่มพระกัน (ฮุ่ง).
  • หั่น
    แปลว่า : เอาของวางลงบนเขียงแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ เรียก หั่น เช่น หั่นปลา หั่นเนื้อ หั่นผัก หั่นแตง.
  • หัย
    แปลว่า : ม้า (ป. ส. หย) อย่างว่า ยาบยาบย้ายช้างใหญ่เฮียงเกย ไสวฝูงบ่าวชายโยงย้าย หัยหัยแส้ทุงยูย้ายย่าง หลายหลั่นด้างเลียนพร้อมพร่ำงาม (ฮุ่ง).
  • หัว
    แปลว่า : ส่วนของร่างกายเหนือคอขึ้นไปเรียก หัว เช่น หัวงัว หัวควาย หัวคน หัวม้า เหง้าของมันและพืชพันธุ์บางอย่างที่ฝังอยู่ในดิน เรียก หัว เช่น หัวมัน หัวเผือก หัวกลอย สิ่งที่อยู่ข้างหน้าหรือสมมติว่าข้างหน้า เรียก หัว เช่น หัวเฮือ หัวแถว หัวถนน หัวหน้า สิ่งที่นิยมว่าดี เรียก หัว เช่น หัวเหล้า หัวยา ส่วนที่เป็นสาระ คนที่น่ารัก เรียก หัว เช่น หัวกระทิ ลูกหัวแก้วหัวแหวน.
  • หัว
    แปลว่า : แสดงอาการขบขันแล้วปล่อยเสียงออกมา เรียก หัว อย่างว่า เพิ่นนั่งไห้ โตอย่านั่งหัว (ปู่) ซว่าซว่าพร้อมเขาเถื่อนแพงผาย หัวหัวนันซู่คนมวลพร้อม เมื่อนั้นภูธรท้าวบาบุญย้ายย่าง เสียงสนั่นก้องคุงฟ้าคื่นเค็ง (ฮุ่ง).
  • หัวขวัญ
    แปลว่า : หัวเราะด้วยความรู้สึกขบขัน หรือความรื่นเริงใจ.
  • หัวเตอะหัวเติ่น
    แปลว่า : หัวเราะได้ยินเสียงดังได้ยินเสียงหัวสี่ห้าหลังคาเรือน เรียก หัวเตอะหัวเติ่น.
  • หัวหงอก
    แปลว่า : คนที่มีผมขาว เรียก คนหัวหงอก อย่างว่า ลางคนเป็นคนเถ้าหัวขาวจ่อนพ่อน ยังเล่าเหาะห่อนเหล้นเชิงชู้สวากเสนห์ (กาพย์ปู่).