ภาษาอีสานหมวด "ห" 671 - 680 จาก 1363

  • เหน็บ
    แปลว่า : ชื่อมีดชนิดหนึ่ง ปลายแหลมคล้ายมีดตอก แต่ด้ามสั้นและตรง เรียก มีดเหน็บ.
  • เหน็บ
    แปลว่า : เสียบ สอด สอดชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วลงข้างหลัง เรียก เหน็บเตี่ยวผ้า.
  • เหน้อ
    แปลว่า : เสียงเพี้ยนจากระดับเสียงมาตรฐาน เรียก เสียงเหน้อ เสียงโหน้ง ก็ว่า เช่น โธ่ เป็น โธ้ โม่ เป็น โม้.
  • เหน้า
    แปลว่า : รุ่น หนุ่ม สาว อย่างว่า มารือสิทธิเดชเจ้าจอมราชปักษี ข้อยเอย เจ้ายังค่อยเทียระฆาคงอยู่เย็นหายฮ้อน แด่รือ อันหนึ่งโพยภัยฮ้ายแดนใดหายห่วง แม้นว่าเชื้อส่ำเหน้านางท้าวค่อยคง อยู่รือ (สังข์) ไย่ไย่พร้อมปลงฮอดในสถาน หลิงดูโฮงขวางคับคั่งคนเต็มห้อง โฉมคราญเหน้าเมียแก้วศรีสะอาด ทุกที่ซ้องตาล้นผ่อดู (ฮุ่ง).
  • เหนียง
    แปลว่า : เนื้อที่ห้อยติดอยู่ใต้คอไก่หรือคอนกบางชนิด เรียก เหนียง เช่น เหนียงไก่ เหนียงเป็ด เหนียงห่าน.
  • เหนี่ยง
    แปลว่า : บีบ ขยำ บีบด้วยมือแล้วขยำไปมา เรียก เหนี่ยง อย่างว่า คอยวันมื้อแลงงายปะไป่ พี่ก็ปั้นเหนี่ยงเข้าแลงมื้อค่ำดาย (สังข์) ยามเมื่อข้านี้ได้ธรงคัพบุตตา อย่าให้หัวนมดำหย่อนยานคือห้อย ขอให้คือปทุมตั้งบัวหลวงเมียมคู่ ยามเมื่อลูกเหนี่ยงเหล้นนมน้องอย่ายาน (เวส-กลอน).
  • เหนี่ยว
    แปลว่า : ดึงไว้ รั้งไว้ ยึดไว้ อย่างว่า ขอเหนี่ยวเจ้าฟ้าอย่าไลลา คำจริงจงจอดรือฮามเว้น เมื่อนั้นสีไวเจ้าคำหวาด้านม่วน ปุนกล่าวถ้อยสายเส้นสืบกลอน (ฮุ่ง).
  • เหนี้ยว
    แปลว่า : ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง ตัวกลม ไม่มีขา อาศัยอยู่ในน้ำ ฟันแหลมคม เหมือนฟันตะขาบ เรียก แมงเหนี้ยว.
  • เหนียเหนีย
    แปลว่า : ซ้ำๆ ซากๆ พูดกันซ้ำๆ ซากๆ เรียก เหนียเหนีย อย่างว่า เขาก็เหนียเหนียต้านจากันนีน่ำ ซับซิ่มเว้าคำละห้อยต่อกัน บุญพี่มาหวนพ้อพอคราวซ้ำผัดห่าง กันนอ คึดยากฮาเจ้าข้อยชิไลฮ้างห่างกัน พี่เด (สังข์) เหนียเหนียน่ำน่ำน้าวคอชม ก็มี ซับซับซิ่งซิ่งจับคอจูบ ก็มี ฮ่อนฮ่อนพระพับองค์อ่อนในมโน นักขัดตะรึกฮู้ถองแจ้งจิ่งมโน (ฮุ่ง).
  • เหนือ
    แปลว่า : ชื่อทิศที่อยู่ตรงข้ามกับทิศใต้ เรียก ทิศเหนือ หรือทิศที่อยู่ซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่อยู่ทางเหนือน้ำ เรียก เหนือน้ำ อย่างว่า เผื่อเหนือตกใต้ไหลลงมากะพอแม่น มีดอีโต้บ่เข้าให้ฟันเจิ้มแต่ไกล (กลอน).