ภาษาอีสานหมวด "ห" 691 - 700 จาก 1363

  • เหมันต์
    แปลว่า : ฤดูหนาว (ป. ส.) อย่างว่า แถวเถื่อนกว้างเฮืองมาศมาลี เหมันต์กลายด่วนดนระดูฮ้อน ภูบาลดั้นเดินไพรคราวค่ำ สังข์ก่อนย้ายยวงฮ้อนแฮกพลัน (สังข์).
  • เหม้า
    แปลว่า : ปีเถาะ เรียก ปีเหม้า.
  • เหมือง
    แปลว่า : บ่อ รำลาง ร่องน้ำสำหรับชักน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงพืชที่เพาะปลูก โบราณ เรียก ฮ่องเหมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต).
  • เหมืองฝาย
    แปลว่า : เหมืองที่มีทำนบกั้น คือยกคันคูของเหมืองให้สูงขึ้น มีน้ำมากกว่าฮ่องเหมือง เรียก เหมืองฝาย.
  • เหมือด
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดใบใช้เป็นผักกินได้ บางชนิดใช้ทำยาได้ เหมือดมีชื่อดังนี้ เหมือดโลด เหมือดขน เหมือดคน เหมือดขาว เหมือดแดง เหมือดมน เหมือดปลาซิว เหมือดแอ่.
  • เหมือด
    แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่งผสมมัน เรียก เข้าเหมือดมัน อีสานปีใดนาแล้งได้ข้าวในนาน้อยไม่พอกิน ต้องหาสิ่งของไปแลกข้าว ได้ข้าวมาไม่พอกินต้องหาเผือกหามันหากลอยมาเพิ่ม นี่จึงเป็นที่มาของเข้าเหมือดมัน อย่างว่า ผู้สาวอึดเข้ากินกลอยจนหีจ่อย (บ.) อึดแพ้หลายตายแพ้น้อย (ภาษิต) ลูกแอ่วอ้อนเขาค่อยทำครัว ฮุนแฮงอิดแอ่วกินกวนไห้ พอเมื่อไฟขางเข้าพอประมาณมันเปื่อย พ่อก็บายกาบกล้วยตองให้คู่คน (สังข์).
  • เหมือน
    แปลว่า : อย่างเดียวกัน ไม่แปลกกัน อย่างว่า ยังเล่าคึดฮอดน้องขังขอดมโนในยิ่งแล้ว หมายจักจรจงพระทัยบ่ไลลาน้อง ผิจักพิจารณ์ห้องหนพระองค์อันอ่าว วันนั้น คันบ่ได้ดั่งแม้งเหมือนแห้งหอดหิว แท้แล้ว (สังข์).
  • เหมือย
    แปลว่า : หมอก น้ำค้าง ไอน้ำที่เป็นควันขาวมัวอยู่ตามอากาศทั่วไป เรียก เหมือย อย่างว่า ลัดล่วงผ้ายล้านหลืบหลึมเหมือย กลายแดนดนด่วนเถิงแถนฟ้า เมื่อนั้นสะบุหน้าแถนหลวงหลิงโลก เห็นแก่นเหง้านงหน้าฮ่ำคาญ (ฮุ่ง).
  • เหมือย
    แปลว่า : สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งในสกุลหมี แต่ตัวใหญ่กว่าหมี เรียก เหมือย อย่างว่า สัพพะสิ่งช้างเดียระดาษแสนสัตว์ ก็ดี ไกสรสีห์ซู่คณาเนืองเฝ้า เสือสางเหม้นเหมือยหมีหมาป่า ก็มา ลิงวอกเต้นโตนค้างบ่างชะนี (สังข์).
  • เหย
    แปลว่า : ระเหย กลิ่นที่กระจายไปในอากาศแล้วเหือดแห้งไป เรียก เหย อย่างว่า ก็บ่เหยเดือดแห้งน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์).