ภาษาอีสานหมวด "ห" 701 - 710 จาก 1363

  • เหยอ
    แปลว่า : ยุ่ง เหยิง ผมที่ยุ่ง เรียก เหยอ อย่างว่า ผมเกษเกล้าเหยอหยุ้งเกลือกฝอย (ขุนทึง).
  • เหยาะ
    แปลว่า : เติมลงไปแต่น้อยให้พอดีแก่ความต้องการ เรียก เหยาะ เช่น เหยาะมากพริกแลกเกลือ เหยาะหมากเขือแลกเข้าเหยาะเข้าเหม้าแลกยา.
  • เหยาะแหยะ
    แปลว่า : ไม่จริงไม่จัง เช่น ทำอะไรไม่จริงไม่จัง เรียก เฮ็ดเหยาะแหยะ.
  • เหยิง
    แปลว่า : หวี สาง หวีผมสางผม เรียก เหยิงผม อย่างว่า หมอม่วนฮู้ต้านตอบเทพี ทูลเกงญากล่าวกลอนกลอยน้อม นารีเหน้าเหยิงผมผายเกษ เนานั่งล้อมเทียมข้างบอกแยง (ฮุ่ง).
  • เหยียด
    แปลว่า : ทำสิ่งที่งอให้ตรง เช่น เหยียดแข้ง เหยียดขา ลบออกเรียก เหยียด เช่น เหยียดนพเป็นเอก คือเอา ๘ ลบ ๑๐ เหลือ ๑ ดูถูกเรียก เหยียด เช่น ดูหมิ่น ดูถูก เหยียดชาติ ชั้นวรรณะ.
  • เหยียบ
    แปลว่า : วางเท้าลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียก เหยียบ เช่น เหยียบแข้งเหยียบขา ทำการล่วงเกินให้เกิดความเสียหายเรียก เหยียบย่ำ เหยียบเท้าลงในโคลนเพื่อล่อเอาปลา เรียก เหยียบฮอย อย่างว่า ตีนช้างเหยียบปากนก (ภาษิต).
  • เหยื่อ
    แปลว่า : อาหารชนิดเดียวกัน ถ้าคนกิน เรียก อาหาร สัตว์กินเรียก เหยื่อ อย่างว่า นับแต่เจ้าจากไว้วางเหยื่ออาหาร ทังมวลเมิลอยู่ตรอมตนเศร้า เขาก็ทรงสลอนค้างคาคอนคองราช ก็บ่กินเหยื่อหญ้าคอยเยี้ยมอยู่เหงา (สังข์).
  • เหยื่อ
    แปลว่า : เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว เรียก เหยื่อ หยังเหยื่อ หยักเหยื่อ เหยื่องเหยื่อ ก็ว่า หยังเหยื่อเข้าตาโตเอาออกบ่ได้ ให้ผู้อื่นเอาออกให้ (บ.).
  • เหล่
    แปลว่า : เขมาก ตาที่เขมาก เรียก ตาเหล่.
  • เหล็กกล้า
    แปลว่า : เหล็กที่ชุบให้กล้า เช่น เหล็กที่ทำมีดโกนผม มีดโกนหนวด.