ภาษาอีสานหมวด "ห" 741 - 750 จาก 1363

  • เหลือม
    แปลว่า : ชื่องูใหญ่ชนิดหนึ่ง คล้ายงูหลาม แต่ใหญ่กว่างูหลามมาก เป็นงูไม่มีพิษ ตัวใหญ่และยาวประมาณ ๑๐ เมตร เรียก งูเหลือม.
  • เหลื่อม
    แปลว่า : กั้น บัง ปกคลุม สิ่งที่ปกคลุมเรียก เหลื่อม อย่างว่า สิบคนมานั่งแหนแสนคนมานั่งเฝ้า บ่ปานเงาน้องมาเหลื่อม (ผญา) บัดนี้หายบาปเบื้องเวรเล่าสูญเสีย แท้แล้ว เจ้าแม่คูณคงสินอยู่ยืนเมืองนี้ มาหอมข้าชาวชลชมยาก ให้ฮ่มเงื้อมบุญเจ้าเหลื่อมมุง แด่ถ้อน (สังข์).
  • เหลื้อม
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ต้นใหญ่ ผลกลมเกลี้ยงคล้ายลูกสมอ กินเป็นอาหารได้ เรียก หมากเหลื้อม.
  • เหลื้อม
    แปลว่า : ปราสาทราชมณเทียรที่มีสีเหลืองอร่ามงามตา เรียก ปราสาทเหลื้อม อย่างว่า มีทังสมณาสพร้อมเพียีฮ่ำเฮียนคุณ อาฮามงามเกิ่งดาวดิงส์ฟ้า ผ่อเห็นมุณเทียรท้าวธรงเมืองแก้วกู่ วันวู่ต้องแสงเหลื้อมหลั่งสี (สังข์).
  • เหว
    แปลว่า : ช่องลึกระหว่างภูเขา เรียก เหว อย่างว่า แม้งหนึ่งเถิงที่ห้วยเหวตาดครำหลวง วังยาวทบทั่งหีนเหวก้อน พะลานเพียงพื้นคนเคยพักเพิ่ง ที่นั้นเขาก่อกว้านประถมเถ้าชั่วลาง (สังข์).
  • เหว้
    แปลว่า : เฉ ไม่ตรง หนทางที่ไม่ตรง เรียก ทางเหว้ ทางเว ก็ว่า.
  • เหวย
    แปลว่า : กิน ถ้าพระราชากิน เรียก เหวย เสวย ก็ว่า อย่างว่า แล้วล่ำเยี่ยมแปนเปล่าเลยกระสัน กุมภัณฑ์เสวยโภชคาคือง้วน ชลธาเท้าสองแคมคือสีก กระสันเกี่ยวแก้วกือล้านลูบทวง (สังข์).
  • เหวียน
    แปลว่า : วงรอบ กวาดหญ้าหรือใบไม้ให้เป็นวงรอบ เพื่อกันไม่ให้ไฟลุกลามไปไหม้ที่อื่น เรียก เหวียน อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือสุ่มงุมกระทอ ความมักมาพอพอคือกระทองุมฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกระบาด พออยากหยอหย่องย้อในหม้องนั่งเหวียน (ผญา).
  • เหา
    แปลว่า : ชื่อสัตว์เล็กมากชนิดหนึ่ง เกาะอยู่บนหัวคนและกินเลือดคน เรียก เหาคน เกาะอยู่ตามควาย เรียก เหาควาย เกาะอยู่ตามวัว เรียก เหาวัว อย่างว่า อย่าหาเหาหัวเพิ่นมาใส่หัวโต (ภาษิต).
  • เห่า
    แปลว่า : ชื่องูมีพิษร้ายแรงจำพวกหนึ่ง ทำเสียงขู่อย่างหมาเห่า เรียก งูเห่า มีหลายชนิด คือ งูเห่าดง งูเห่าห้อม งูเห่าหม้อ งูเห่าหยวก.