ภาษาอีสานหมวด "ห" 751 - 760 จาก 1363
-
เห่า
แปลว่า : อาการส่งเสียงสั้นๆ ของหมาเรียก หมาเห่า อย่างว่า คันว่าได้ขี่ช้างอย่าลืมหมู่หมูหมา ห่าขโมยมาลักชิเห่าหอนให้มันย้าน ลางเทื่อกวางฟานเต้นนำดงชิได้ไล่ คันมันได้ต่อนชิ้นยังชิโอ้อ่าวคุณ (กลอน). -
เหาะ
แปลว่า : ชื่อนกชนิดหนึ่งขนาดนกเอี้ยงชอบกินปลาเป็นอาหาร เวลาเห็นปลามันจะบินขึ้นไปสูงๆ แล้วบินโฉบลงมาจับเอาปลา เรียก นกเหาะ นกหอ ก็ว่า อย่างว่า นกเหาะมาอยู่ลี้ปลายไม้ชิแส่วปลา แลเด (ขุนทึง). -
เหาะ
แปลว่า : บิน ขึ้นไปในอากาศ เดินอากาศ อย่างว่า แมงเม่าเหาะอยู่ฟ้าบ่มีม้มปากอึ่งยาง (กลอน). -
เหิง
แปลว่า : นาน ช้า ไปแล้วกลับมาช้า เรียก ไปเหิง อย่างว่า เมื่อนั้นป้าแม่ไห้หุยหอดอาลัย เจ้าแม่ไปยาเหิงเทียวคืนหาห้อง อันที่ไพรขวางกว้างศัตรูมารมีมาก แสนส่ำช้างธรเถ้าเผ็ดผี (สังข์) ของเก่านี้ชมเปิดเหยเหิง บ่ท่อเสนหาใหม่มาชมช้อน (ผญา). -
เหิงส์
แปลว่า : หึง หวง เหิงสา ก็ว่า (ป. หึส). -
เหิน
แปลว่า : เหาะ บิน บินขึ้นไปในระยะสูง อย่างว่า บาคราญผ้ายเวหาเหินเมฆ (กา) ทะล่วนแส้ชะค้อมคับท่งตูมวาง ผนผนผีตายืนป่วนมามวลเข้า ฝูงนั้นมีมนต์ขึ้นกลางหาวเหินแอ่น อยู่แทบเท้าก้ำฝ่ายจอมจัง (ฮุ่ง). -
เหินห่าง
แปลว่า : ไม่สนิทสนมดั่งเก่า ไม่ไปมาหาสู่กันเหมือนเดิม เรียก เหินห่าง อย่างว่า บัดนี้มาฮอดแล้วเหินห่างจางจิต แลนอ เหมือนพี่ปุนปานผางเผ่าสะอางอันฮ้าย ชื่อว่าพันปีอ้ายบ่มียอมยังแอ่ว อวนเอย ขออุ่นฮักพี่พร้อมคำข้อนขอดจริง แด่ถ้อน (สังข์). -
เหิม
แปลว่า : กำเริบ คะนอง ลำพอง ได้ใจ เช่น วัวควายตื่นลม มันกระโดดโลดเต้น เรียก เหิม ห้าว ก็ว่า. -
เหิ่ม
แปลว่า : ห่าม ผลไม้ห่าม เรียก เหิ่ม เช่น มะม่วงจวนจะสุก เรียก หมากม่วงเหิ่ม หมากสีดากำลังสุก เรียก หมากสีดาเหิ่ม อย่างว่า อย่าสุกก่อนเหิ่ม (ภาษิต). -
เหี้ย
แปลว่า : ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายจะกวด แต่ใหญ่กว่า หางแบนอย่างหางจระเข้ เรียก เหี้ย.