ภาษาอีสานหมวด "ห" 761 - 770 จาก 1363

  • เหี้ยน
    แปลว่า : สั้น เสียมสั้น เรียก เสียมเหี้ยน จมูกสั้น เรียก ดังเหี้ยน สิ้นสั้น เรียก ซิ่นเหี้ยน อย่างว่า พี่จักหมายมาโออมแต่งดองเสียมเหี้ยน (ขูลู).
  • เหี่ยว
    แปลว่า : ไม่สดชื่น โรยลง สลด ค่อยแห้งไป ไม่เต่งตึง เช่น นมบ่เค่งตึง เรียก นมเหี่ยว อย่างว่า โต๋ต่งโต๋นารีโต่งโต้น โต๋ต่งโต้นผู้สาวโหย้นนมมา โหย้นนมมาผั่นแม่นนมเหี่ยว คันบ่คั้นย้านเกี่ยวกินมือ (บ.).
  • เหือด
    แปลว่า : แห้ง หมดลง ค่อยหายไป เช่น น้ำตาไหลไม่ขาดสาย เรียก ไม่เหือด อย่างว่า ก็บ่เหยเหือดน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์).
  • แห
    แปลว่า : ชื่อเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง สานเป็นตา โดยใช้ป่านปอหรือเชือก ถ้าบ้านใดมีปลาตัวเล็กก็จะสานตาถี่ ถ้ามีปลาตัวใหญ่ก็สานตาห่าง อันนี้เพียงเป็นข้อสังเกตอย่างว่า ตึกแหได้ปลาไข่ เอาเมียใหม่ได้ลูกพร้อม บุญสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต).
  • แห
    แปลว่า : ชื่องูชนิดหนึ่ง มีลายเหมือนตาแห เรียก งูดางแห งูดางแหเป็นงูไม่มีพิษ.
  • แห
    แปลว่า : หลบ หลีก กลัว คนทำความผิดมักจะหลบหน้าเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะตำรวจเพราะกลัวเขาจะจับกุมคุมขัง เหมือนหมาที่เป็นบาดแผลกลัวแมลงวัน อย่างว่า ควายบาดแหกา หมาบาดแหแมงวัน (ภาษิต).
  • แห่
    แปลว่า : แวดล้อม ห้อมล้อ คนที่เดินไปกันเป็นจำนวนมาก เช่น ไปแห่พระเวสเข้าเมือง แห่บั้งไฟ แห่กองกฐิน แห่กองบวช แห่กองผ้าป่า เรียก แห่ อย่างว่า เหลือแฮงสร้างกฐินแฮบ่ได้แห่ ผู้บ่สร้างแท้แท้สังมาได้แห่มา (กลอน).
  • แหก
    แปลว่า : แยกออก ถ่างออก ทำให้อ้าออก อย่างว่า เว้าแหกบ้านมันบ่ฮุ่งบ่เฮือง เว้าแหกเมืองมันสูญมันเศร้า (ภาษิต) แถวเถื่อนกว้างเฮืองมาศมาลี เหมันต์กลายด่วนดลระดูฮ้อน ภูบาลดั้นเดินไพรคราวค่ำ สังข์ก่อนย้ายวงฮ้อนแหกพลัน (สังข์).
  • แหง
    แปลว่า : ร้าว หม้อร้าว เรียก หม้อแหง คือมีรอยแตกเป็นทางยาว.
  • แห่ง
    แปลว่า : ที่ สถานที่ อย่างว่า ที่นั้นยังมีอสรพิษฮ้ายตัวขนาดงูซวง มันก็เทียวระวังขงเขตดงดอยกว้าง แม้นว่าพึงคณาเนื้อตัวใดเดินฮอดมันนั้น มันก็เพินพ่นน้ำลายกลั้วมืดมัว (สังข์).