ภาษาอีสานหมวด "ห" 781 - 790 จาก 1363

  • แหนง
    แปลว่า : เบื่อ หน่าย ระอา เบื่อหน่าย เรียก แหนง แหนงหน่าย หน่ายแหนง ก็ว่า อย่างว่า วิบากแค้นคือคู่กินแหนง แลนอ แม้นชิเนาในปรางค์บ่เบยเบาได้ ไทไกลใกล้คาเมในนอก คันว่าฮู้ข่าวน้อยหิวไท้ทั่วแดน (สังข์).
  • แหน้น
    แปลว่า : เต็ม แออัด ยัดเยียด เต็มจนหาช่องว่างไม่ได้ เรียก แหน้น อย่างว่า สะเพือกพร้อมเนืองนอบนมัสการ เป็นแถวถันนอกในเนืองแหน้น โยธาตั้งเต็มพะลานล้นแผ่น ทุกที่น้ำในหน้าเฟือดฟาย (สังข์).
  • แหนบ
    แปลว่า : เครื่องมือสำหรับถอนหนวดทำด้วยโลหะบางๆ มีปากสองปาก รูปคล้ายคีม เรียก แหนบหลกหนวด หมายถึงสิ่งอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายแหนบ ก็เรียกว่าแหนบด้วย.
  • แหนบ
    แปลว่า : เรียงซ้อนกัน เช่น เอาพลูหลายๆ ใบมาเรียงกันเข้า เรียก แหนบพลู เอาใบตองกล้วยหลายๆ ใบมาเรียงกันเข้า เรียก แหนบใบตองกล้วย เอาแผ่นเหล็กสปริงมาเรียงซ้อนกันเพื่อรับน้ำหนักก่อนส่งสู่เพลารถยนต์ เรียก แหนบรถยนต์.
  • แหนม
    แปลว่า : ชื่ออาหารอย่างหนึ่งทำด้วยหมูหมักให้เปรี้ยว ห่อด้วยใบตองกล้วย เรียก แหนม คนที่ตั้งชื่อน่าจะยืมคำนี้มาจากที่อื่น ถ้าเป็นภาษาอีสานเขาเรียก ส้มหมู.
  • แหนหน้า
    แปลว่า : หงายหน้าขึ้น เรียก แหนหน้า อย่างว่า ปานนี้นักสนมเหง้าหลายคนคองข่าว ฮู้ว่ามาอยู่ต้อนแหนหน้าผ่อทาง แล้วอา เมืองสรวงเศร้าเสียขุนแขงราช อาเอย ฮูปจักเปนป่าเป้าโพงเชื้อช่วงชิง แท้แล้ว (สังข์).
  • แหบ
    แปลว่า : แห้งไม่แจ่มใส เช่น เสียงแหบเกิดเพราะคอแห้งเป็นหวัดหรือหลอดลมอักเสบ เรียก คอแหบ.
  • แหบ
    แปลว่า : กัด จิก เช่น ปลาจิกกินเหยื่อ เรียก ปลาแหบเหยื่อ.
  • แหม
    แปลว่า : เสียงแหลมสูง เสียงร้องแหลมสูง เช่น เสียงม้าร้อง เรียก ม้าแหม.
  • แห้ม
    แปลว่า : เกรียม เกือบไหม้ เช่น ปิ้งปลาเกือบไหม้ เรียก แห้ม อย่างว่า ปุนดั่งพิชโภชพร้อมเฮาปลูกในหิน ก็บ่มีบายมุกกิ่งใบเหลืองแห้ม ค้อมว่าอินทร์สอนแล้วจาโลมคำม่วน ให้มารคืนส่งให้นางแก้วแก่บา (สังข์) ขอจวบเจ้าเจ้าจวบจงฮัก เสนหาหาหอดกระหายหุยแห้ม นักนักกลั้นกลอยกลมกวนกอด แก้มก่ายแก้มโลมลิ้นแลกสลา (ฮุ่ง) อุณโหแห้มคือควันฮมลวก (ฮุ่ง).