ภาษาอีสานหมวด "ฉ" 1 - 10 จาก 26


  • แปลว่า : เป็นพยัญชนะพวกอักษรสูง เป็นพวกตาลุชะ คือ เสียงเกิดแต่เพดานปากอีสานอ่านออกเสียงสอ แต่เวลาเขียนเขียนเป็นฉอ.
  • ฉก
    แปลว่า : ฉวยเอา แย่งเอา วิ่งราว คนชอบแย่งชิงเอาเรียก คนฉก โกหก ฉกลัก ก็ว่า.
  • ฉนาก
    แปลว่า : ชื่อปลาชนิดหนึ่ง ปากส่วนบนยื่นออกไปข้างหน้า ฟันเหมือนฟันเลื่อยเรียก ปลาฉนาก สะนาก ก็ว่า.
  • ฉนำ
    แปลว่า : ปี (ข.) ถะหนำ ก็ว่า.
  • ฉม
    แปลว่า : กลิ่นหอม เครื่องหอม อย่างว่า ยามใดพระอยู่ส้วมสรงอาบถวายฉม (สังข์).
  • ฉวย
    แปลว่า : คว้าจับ อย่างว่า ฉวยถืกเต้านมคั้นบ่วาง (กา) พระก็ฉวยจักรแก้วกลอยใจจรเมฆ คือคู่ยนตร์ยาตรผ้ายผยองล้ำล่วงบน (สังข์).
  • ฉวี
    แปลว่า : ผิวกาย (ป.ส.) อย่างว่า สุขุมัจฉวีเนื้อเกลี้ยงอ่อนผิวนวล คือ ทองทาทั่วโตเต็มเนื้อ ขอให้สีใสเหลื้อมนวลในผิวผ่องใผเหลียวเห็นอยากต้องใจสบั้นท่าวทวง (เวส-กลอน).
  • ฉัททันต์
    แปลว่า : ช้างเผือกตระกูลหนึ่ง เรียก ช้างฉัททันต์ สารทันต์ ก็ว่า อย่างว่า มีทังสาทันต์ช้างในโฮงนับหมื่น (กา).
  • ฉัน
    แปลว่า : เสมอ เหมือน คือ สิ่งที่เสมอกัน เหมือนกัน คือกัน เรียก ฉัน อย่างว่า เอื้อยนี้แนวนามเชื้อฉันเดียวโดยชาติ เชิญหม่อมมาจอดยั้งยาย้านเกลียดกลัว เอื้อยนี้ธีตาไท้ครองนครทองท้าวใหญ่ พ่อให้มาอยู่ต้อนแพงล้านล่วงไพรพี่แล้ว (สังข์).
  • ฉัพพัณณรังสี
    แปลว่า : รัศมีมี ๖ ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าเปล่งออกคราวเสด็จไปโปรดพระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดาที่เมืองกบิลพัสดุ์รัศมี ๖ ประการ คือ ๑ นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒ ปิตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓ โลหิตะ สีแดงเหมือนตะวันอ่อน