ภาษาอีสานมาใหม่ 12561 - 12570 จาก 17431

  • ตบทอบ
    แปลว่า : ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม การประนีประนอมคนวิวาทบาดหมางให้ถูกต้องปรองดองกัน เรียก ตบทอบ เช่น เมื่อลูกหลานผิดพ้องหมองใจจนต้องตัดญาติขาดผี เจ้าโคตรเรียกมาให้ปรองดองกัน เรียก ตบทอบ.
  • ตบ
    แปลว่า : ไก่ตีปีกเรียก ไก่ตบปีก อย่างว่า กุตโตฮ้องขานขันสูรเถื่อน ไก่เยียะตบปีกท้าขันพร้อมส่งเสียง (ฮุ่ง).
  • ตบ
    แปลว่า : ตีด้วยฝ่ามือ เรียก ตบมือ อย่างว่า โพ่โพ่พร้อมภายบุ่มตบมือ ทิวแพนคำเลื่อนบังบาท้าว อือทือล้อมนงศรีสาวถ่าว ลึงซึ่มผู้ใจท้าวแห่งสถาน (ฮุ่ง) คราวเมื่อเว้าแต่กี้ว่าชิตบแผ่นแผ้นแปนมือให้นั่ง บาดห่ามาฮอดแล้วจำให้นั่งหนาม (ผญา).
  • ตบ
    แปลว่า : ตี ตีเรียก ตบ ตีฉาบเรียก ตบแส่ง ตีฉิ่งเรียก ตบสิ่ง ตีกลองเรียก ตบกลอง อย่างว่า เขาก็ตบแส่งฆ้องกลองเข้ากล่อมแคน (ผาแดง).
  • ต้น
    แปลว่า : ลำของต้นไม้และพืชเรียก ต้น เช่น ต้นมี้ ต้นม่วง ต้นจิก ต้นฮัง ต้นดู่ ต้นแดง.
  • ตดเหม็น
    แปลว่า : ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง เมื่อกระทบเข้าจะมีเสียงดังที่ก้น เรียก แมงตดเหม็น แมงตดสูด ก็ว่า.
  • ตดหมา
    แปลว่า : กระพังโหม ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง เรียก เครือตดหมา รากมีหัวใช้หัวทำขนมหรือข้าวเกรียบ และใช้ทำยาได้.
  • ตด
    แปลว่า : ลมที่ออกจากทวารหนัก เรียก ตด อย่างว่า กำขี้ดีกว่ากำตด (ภาษิต) ตดอ่อยหมา (ภาษิต) กินบ่ช่างกินเป็นหนี้ สี้บ่ช่างสี้โค็ยคด ตดบ่ช่างตดขี้ออกนำ (ภาษิต).
  • ตจปัญจกกรรมฐาน
    แปลว่า : กรรมฐานที่ให้พิจารณาส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีหนังเป็นที่ 5.
  • ต่งย่ง
    แปลว่า : งาม ระหง คนที่มีรูปร่างสูงได้ส่วนสัด เรียก งามต่งย่ง.