หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดกาญจนบุรี/อำเภอเมืองกาญจนบุรี/สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

สถานที่ท่องเที่ยว

เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2484 หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว กองทัพญี่ปุ่นได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในเอเชียอาคเนย์อย่างรวดเร็ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นตัดสินใจใช้แรงงานเชลยศึกและพลเรือนสร้างทางรถไฟทางเดียวที่บ้านโป่งทางด้านตะวันออก เชื่อมกับสถานีรถไฟที่เมืองทันบูซายัดทางด้านตะวันตก เพื่อย่นระยะทางการเดินทาง และปกป้องเส้นทางการลำเลียงระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า การสร้างทางสายรถไฟ (หรือที่เรียกกันว่าทางรถไฟสายมรณะ) ดังกล่าว มีผู้เสียชีวิตที่เป็นเชลยศึกประมาณ 15,000 คน และพลเรือนอีก 100,000 คน เนื่องจากประสบโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การขาดอาหาร ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย และการทารุณกรรม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงเมื่อ พ.ศ. 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแด่ผู้เสียชีวิตขึ้นหลายแห่งในทวีปเอเชียซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญ มีอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ในหลายประเทศ คือ ในประเทศไทย 2 แห่ง พม่า 3 แห่ง อินเดีย 6 แห่ง บังกลาเทศ 5 แห่ง ปากีสถานและศรีลังกาอย่างละ 2 แห่ง สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 ในการสร้างสุสานสองแห่ง คือ สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก (สุสานดอนรัก) และสุสานทหารสัมพันธมิตรเขาปูน (หรือสุสานช่องไก่) อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้ที่กาญจนบุรียังมีอนุสรณ์สถานที่สร้างโดยทหารญี่ปุ่นเพื่อคาระวะแด่ดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตในระหว่างสงคราม คือ อนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์ ส่วนกรรมกรชาวเอเชียอีกจำนวนมากที่เสียชีวิตไปโดยไม่มีผู้ใดจดบันทึกไว้นั้น มีการสร้างอนุสาวรีย์กรรมกรและทหารนิรนามไว้ที่ป่าช้าวัดญวน และโครงกระดูกอีกส่วนหนึ่งของพวกเขาตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2

ข้อมูลเพิ่มเติม

-สุสานทั้งหมด 6,982 หลุม -สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 -ใกล้ทางรถไฟข้ามแม่น้ำแคว -บริเวณสุสานสวยงามเขียวขจีไปด้วยต้นหญ้าที่ได้รับการปลูกและดูแลเป็นอย่างดี สถานที่แห่งนี้มีความเงียบสงบ ชวนให้รำลึกถึงเหตุการณ์การสู้รบและผลลัพธ์ที่ตามมา

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก 284/66 ถนนแสงชูโต ต.บ้านใต้ อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี 71000

034-511-200

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

  14.303800,99.525800

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*