การเลี้ยงโคนม

การเลี้ยงโคนม โคนมที่มีลักษณะเด่นตรงที่มีสีดำตัดกับสีขาวอย่างชัดเจน โคตัวผู้ที่โตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 800-1000 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนัก ประมาณ 600-700 กิโลกรัม และเจริญเติบโตดีกว่าตัวผู้

พันธุ์สัตว์

พันธุ์โคนมที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยคือ โคนมลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน หรือพันธุ์ขาว – ดำที่มีระดับสายเลือดตั้งแต่ 50 % ขึ้นไป โดยระดับสายเลือดที่นิยมเลี้ยงในบ้านเราจะอยู่ที่ 62 %

อาหารที่ใช้

อาหารข้นเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงโคขุน เนื่องจาก การขุนโคมีระยะการเลี้ยงขุนเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งต้องทำให้โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นให้เร็วที่สุด วัตถุดิบที่เป็นอาหารข้นมาผสมกัน เช่น ข้าวโพด รำ และปลายข้าว กากมันสำปะหลัง กระดูกป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใบกระถิน ยูเรีย รวมถึงผงแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น

การให้อาหาร

อาหารหยาบหญ้าสด คือ อาหารหยาบที่เป็นอาหารหลักของโค โดยหญ้าสดเป็นแหล่งเยื่อใยที่ช่วยระบบย่อยอาหาร แหล่งวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ส่วนกากน้ำตาลเป็นผลพลอยได้จากการหีบอ้อย ซึ่งกากน้ำตาลอุดมไปด้วยอาหารประเภทแป้ง มีรสหวาน สัตว์ชอบกิน แต่มีโปรตีนน้อยมาก การให้โคกินจะไม่ให้ผสมกับน้ำ แต่จะใช้ราดใส่ในอาหารหยาบหรืออาหารข้น เช่น ราดผสมฟาง ราดผสมกับอาหารข้น เป็นต้น

การเลี้ยงดู

เมื่อโคนมมีอายุถึง 4 เดือน อัตราการตายจะต่ำ เพราะระบบการย่อยจะดีขึ้นมาก ตั้งแต่ระยะนี้ไปจนถึงระยะโครุ่น คืออายุประมาณ 180-205 วัน ( น้ำหนักประมาณ 120-150 กิโลกรัม ) โคจะกินหญ้าได้ดีแล้ว ช่วงระยะโคสาว โคนมจะมีน้ำหนักประมาณ 200-250 กิโลกรัม เลี้ยงจนกระทั่งโคมีอายุครบ 18-22 เดือน จะเป็นช่วงอายุเกณฑ์ผสมพันธุ์ โคจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ให้เพิ่มอาหารผสมและให้หญ้ากินเต็มที่ หากสามารถเลี้ยงแบบปล่อยลงแปลงหญ้าได้จะยิ่งดี เพราะโคจะได้ออกกำลังกาย และยังประหยัดแรงงานในการเลี้ยงอีกด้วย

โรงเรือนและอุปกรณ์

สถานที่ควรเป็นที่ดอนหรือสถานที่สูงกว่าพื้นที่รอบข้าง มีการระบายน้ำได้ดี หรืออาจต้องถมพื้นที่ให้สูงขึ้นกว่าระดับปกติเพื่อไม่ให้น้ำขังในฤดูฝน ขนาดของโรงเรือน โรงเรือนอาจสร้างเพียงคอกขังเดี่ยว แต่มีหลายๆ คอกตามจำนวนโค พื้นคอกควรเป็นพื้นคอนกรีตที่เท ควรหนาประมาณ 7 เซนติเมตร หลังคาวัสดุใช้ทำหลังคา เช่น กระเบื้อง สังกะสี แฝก หญ้าคาหรือจาก ตามด้วยรั้วรั้วกั้นคอก– รั้วกั้นคอกรอบนอกโดยรอบ ควรกั้นทั้ง 4 แนว แนวบนสุดให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 150 เซนติเมตร ส่วนรั้วคอกย่อยภายในให้กั้นอย่างน้อย 3 แนวและ รางอาหาร  รางอาหารควรสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 80-90 เซนติเมตร ซึ่งก่ออิฐบล็อก

โรค การป้องกันโรค

โรคที่โคขุนมักเป็นประจำคือ โรคปากและเท้าเปื่อย ,การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย เมื่อโคอายุ 4 – 6 เดือนและซ้ำทุก 6 เดือน  ไม่ควรปล่อยให้สัตว์ป่วยกลางทุ่ง ควรมัดสัตว์ป่วยไว้เพื่อรักษาและมิให้โรคกระจาย และ โรคพยาธิภายนอกและภายในมี การป้องกันกำจัด เห็บ เหา แมลงดูดเลือด อย่างสม่ำเสมอ ลูกโค อายุ 2 เดือน และถ่ายพยาธิทุกหกเดือน

ต้นทุน

แบ่งได้ 2 ส่วนคือ ต้นทุนถาวร ได้แก่ โรงเรือน ค่าพันธุ์โคนม ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าจัดทำแปรงหญ้า ค่าจัดหาแหล่งน้ำ และต้นทุนหมุนเวียน สำหรับเป็นค่าอาหารข้น ค่าบริการผสมเทียมและรักษาสัตว์ ค่าไฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าเวชภัณฑ์และวัคซีนโดยรวม ต้นทุนสำหรับการเลี้ยงแม่โคนม 5 ตัวในปัจจบุัน เกษตรกีจะต้องมีเงินทุนอย่างน้อยประมาณ 250,000 – 300,000 บาท

ผลตอบแทน

เรื่องผลตอบแทนนั้นโคนมที่ฟาร์มน้ำนมที่รีดได้ต่อวัน จะอยู่ที่ 13-15 กิโลกรัม ต่อตัว ใน 1 วัน จะรีดได้ประมาณ 400 กิโลกรัม ต่อวัน ราคาน้ำนมตอนนี้ก็ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งการเลี้ยงโคนมไม่ได้ขายนมได้เพียงน้ำนมอย่างเดียว ลูกโคที่ออกมาเราก็สามารถขายทำเงินได้ อย่างถ้าลูกโคออกมาเป็นตัวผู้ เราก็จะเลี้ยงให้มีอายุประมาณ 18 เดือน ก็จะขายให้กับเกษตรกรที่เขาสนใจซื้อต่อไป แต่ถ้าเป็นตัวเมียเราก็จะเก็บไว้ เพื่อเป็นแม่พันธุ์ไว้ให้เรารีดนมต่อไป เป็นการสร้างรายได้ภายในฟาร์ม

ข้อมูลและภาพประกอบ

  • หนังสือ 123 อาชีพทางเลือก
  • siamrath.co.th

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*