การปลูกผักปลอดสารพิษ
การปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นพืชที่คนไทยนิยมรับประทานมาก เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่ทว่า ค่านิยมในการบริโภคนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่มีความสวยงาม ใบไม่มีรอยหนอนเจาะ จึงทำให้เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงในปริมาณมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในผัก
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การปลูกผักปลอดสารพิษ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
สภาพพื้นที่
ควรเป็นที่ราบ สม่ำเสมอ ไม่มีน้ำท่วมขัง ระบายน้ำได้ดี และต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อฤดูเพาะปลูกทั้งฤดูกาล
ลักษณะดิน
ควรใช้ดินร่วมซุยที่มีค่าความเป็นกรด – ความเป็นด่างที่เหมาะสม ประมาณ 5.8 – 6.5
สภาพภูมิอากาศ
เน้นสถานที่ที่ไม่แห้งแล้งจนเกินไป และมีแหล่งน้ำเข้าถึง เนื่องจากการปลูกผักปลอดสารพิษ จำเป็นต้องใช้น้ำสะอาดในปริมาณมาก
แหล่งน้ำ
สามารถใช้บ่อน้ำที่สร้างขึ้นเอง หรือสปริงเกอร์เพื่อเป็นตัวจ่ายน้ำได้
การเตรียมดิน
ไถและพรวนดินให้ละเอียด และตากไว้ไม่น้อยกว่า 7 วัน และไถพรวนดินอีก 1 ครั้ง และยกร่องตากดินอีก 7 วัน เพื่อกำจัดแมลงและเชื้อโรคที่อยู่ในดิน
ฤดูที่เหมาะกับการปลูก
การปลูกพืชปลอดสารพิษ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล
วิธีการปลูกพืชปลอดสารพิษ
ระยะปลูก ควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร อย่าแน่นจนเกินไป เพื่อให้ระบายอากาศได้ดี
การพรวนดิน
นิยมใส่ปุ่ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักเข้าไป ในอัตรา 1 – 2 ตันต่อไร่ โดยพรวนให้ทั่วจนเป็นเนื้อเดียวกันกับดิน และต้องมีการปรับสภาพความเป้นกรด – ด่าง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม โดยใช้ปูนขาวหรือปูนมาร์ลอัตรา 200 – 300 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วแล้วคลกเคล้ากับกิน
การกำจัดวัชพืช
การปลูกผักปลอดสารพิษ ควรมีวิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายๆวิธี ดังนี้
- การใช้กับดักกาวเหนียว สามารถควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชได้ โดยทั่วไปจะติดตั้งในแปลงผักให้สูงกว่ายอดผักประมาณ 30 เซนติเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 60 – 80 กับดักต่อไร
- การใช้กับดักแสงไฟ นิยมใช้ล่อแมลงในเวลากลางคืนให้มาเล่นไฟ และตกลงไปในภาชนะที่บรรจุน้ำมันเครื่องหรือน้ำรองรับที่อยู่ด้านล่าง ควรติดตั้งไว้ประมาณ 2 จุดต่อไร่ โดยติดให้สูงจากพื้นดินประมาณ 150 เซนติเมตร และปิดส่วนอื่นๆเพื่อไม่ให้แสงสว่างส่องกระจายเป็นบริเวณกว้าง เพื่อไม่ให้แมลงจากที่อื่นมาเพิ่ม
- การใช้พลาสติกหรือฟางคลุมแปลง จะช่วยควบคุมปริมาณวัชพืชและรักษาความชื้นของดินไว้ได้นาน แต่ข้อนี้ควรใช้กับพืชที่มีระยะเวลาปลูกที่แน่นอน
การให้ปุ๋ย
ควรเน้นไนโตรเจนและโพแตสเซียม แต่อย่าให้ชิดโคนต้น โดยใส่ครั้งแรกหลังจากปลูกผักไปแล้ว 3 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรก 2 – 3 สัปดาห์ หรือเมื่อผักเริ่มออกดอกติดผล เมื่อใส่ปุ๋ยเสร็จให้พรวนดินกลบและรดน้ำ
เทคนิคการปลูก
เทคนิคการปลูกผักปลอดสารพิษ เรื่องระยะปลูกเป็นเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่นำมาปลูก แต่มีข้อแนะนำว่า ควรปลูกผักให้มีระยะห่างพอสมควร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี และป้องกันการเกิดโรคระบาด
นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจแปลงอยู่เสมอ โดยเลือกสำรวจเป็นจุดๆ ประมาณ 10-20 จุด/ไร่ ถ้าพบว่ามีการระบาดของโรคหรือแมลงในระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ก็ควรดำเนินการกำ จัดโรคและแมลงที่พบทันที
การเก็บเกี่ยว
ขึ้นอยู่ชนิดของผักที่นำมาปลูก เมื่อครบกำหนดสามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที
ตลาด
สามารถนำไปขายให้กับพ่อค้าคนกลาง หรือจะเปิดท้ายขายเองก็ได้ โดยราคาขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่นำมาขาย
ผลตอบแทน
หากปลูกเป็นไร่ รายได้จากการขายผักปลอดสารพิษ จะตกปีละประมาณ 200,000 บาทขึ้นไป
ข้อมูลและภาพประกอบ
- หนังสือ 123 อาชีพทางเลือก
- Medthai
- osservatorioagroambientale.org
มี 1 บทความลิงก์มาที่การปลูกผักปลอดสารพิษ