ภาษาอีสานหมวด "ก" 1721 - 1730 จาก 1872

  • กะท่อนั่นตั้ว
    แปลว่า : ก็แค่นั้นแหละ, ม้นก็แค่นั้น
  • กะโตก
    แปลว่า : อุปกรณ์สำหรับส่ายข้าว บางที่เรียก โบม หรือ กะโบม ภาชนะทำด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่างเครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็นวงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, ขันโตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูกภาชนะมีเชิงสูงรูปคล้ายพาน มีพื้นตื้นสำหรับวางหรือใส่สิ่งของ มักทำด้วยโลหะ เช่น เงิน ทองคำ ทองเหลือง, โต๊ะ ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  • กอดเสาเถียง
    แปลว่า : กอดเสากระท่อมปลายนา
  • ก่าแฟ๊
    แปลว่า : กาแฟ (กา ออกเสียง ก่า ส่วน แฟ ของเสียงสูงเป็น แฟ๊)
  • กะแล้วแต่
    แปลว่า : ก็ช่าง
  • กี้ม
    แปลว่า : ใช้ของแข็งขนาดเล็กงัดอะไรบางอย่าง เช่น กี้มแข่ว
  • กะติบหมาก
    แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับใส่หมากพลู ถ้าใส่ข้าวเหนียว เรียก กะติบข้าว
  • กะ
    แปลว่า : (คำกริยา)​ คาดไว้, กำหนดไว้, หมายไว้, คะเนไว้, สมมุติว่า, กะเอาไว้ว่า, ตีเสียว่า, มาดหมายไว้, นึกไว้ว่า, ถือว่า.
  • กัก
    แปลว่า : (คำกริยา) การเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้อยู่ในการควบคุมหรือครอบครอง, เก็บไว้, ยึดเอาไว้, ไม่ปล่อยไป.
  • กั๊ก
    แปลว่า : (คำนาม)​ ใช้เรียก ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ มิลลิลิตร, เรียกวิธีการเล่นพนันชนิดหนึ่ง ภาคกลางเรียก 'แทงกั๊ก'​, เสื้อชนิดหนึ่งไม่มีแขน ไม่มีปก วงแขนกว้าง ผ่าอกตลอด อาจติดกระดุมหน้าหรือไม่ติดก็ได้มักใช้สวมทับเสื้อคอปกมีแขน ภาคกลางเรียก เสื้อกั๊ก. (คำกริยา)​ กักไว้บางส่วน, ปิดบังไว้, กัน, บัง, กั้น, ขวาง. (คำวิเศษณ์)​ หยุดลงทันที, หยุดชะงัก ภาคกลางเรียก หยุดกั้ก.