ภาษาอีสานหมวด "ข" 381 - 390 จาก 970

  • ขิ่น
    แปลว่า : กลิ่น กลิ่นหอมหรือมีกลิ่นดุจกลิ่นทิพ เรียก ทิพขิ่น.
  • ขิ่น
    แปลว่า : น่ารัก, น่าเอ็นดู คนที่เรารักใคร่ชอบใจจะมีกลิ่นหอมหวลฃวนดูดดม อย่างว่า พี่จักต้านสั่งเจ้าทิพขิ่นทังสอง (กา).
  • ขิว
    แปลว่า : เหม็นเขียว กลิ่นเหม็นชนิดหนึ่งเช่น กลิ่นเผาหนังแห้งหรือใบไม้สด จะมีกลิ่นเหม็น เรียก เหม็นขิว.
  • ขี
    แปลว่า : ชื่อไม้ป่าชนิดหนึ่ง มีรสขม เรียก ไม้ไผ่ขี.
  • ขี
    แปลว่า : ไม้ไผ่ที่มีหน่อแล้ว ลำต้นตายไป เรียก ไม้ไผ่ตายขี.
  • ขี่
    แปลว่า : นั่งเอาขาคร่อมเรียก ขี่ เช่น ขี่ม้า ขี่ช้าง ขี่ควาย ขี่วัว ขี่ขอนไม้ ขวี่ ก็ว่า อย่างว่า ทรงขวี่ม้าเดนดั้นคว่าเถิง (กา) บุญบ่เคยขี่ช้างย้านแหย่งพาตกบุญบ่เคยขี้ครกย้านสากกระเบือพาเต้น (ภาษิต)
  • ขี้
    แปลว่า : กากอาหารที่ขับถ่ายออกมา เรียก ขี้ กากหรือส่วนของสิ่งอื่นที่มีกลิ่นเหม็นคล้ายขี้ เรียก ขี้ เช่น ขี้ไก่กองใหญ่ เรียกไก่โป่ ขี้ไก่โอก ก็ว่า ขี้ฟันเรียกขี้แข้ว ขี้ที่ติดอยู่ขอบตาเรียก ขี้ตา น้ำเมือกไหลออกทางจมูกเรียก ขี้ดัง ผงที่ติดอยู่ตามเท้าเรียก ขี้ตีน.
  • ขี้
    แปลว่า : เศษหรือสิ่งของที่ไม่มีกลิ่นเหม็นแต่นิยมเรียกขี้ เช่นเศษไม้ที่ออกมาจากการใสกบเรียก ขี้กบ ขอนดอกที่ใช้คลุกน้ำมันยาง เรียก ขี้ขอนดอก เศษหมากพลูในเชี่ยนหมาก เรียก ขี้ขันหมาก เศษไม้ที่เกิดจากขวานหรือสิ่ว เรียก ขี้เขีย.
  • ขี้
    แปลว่า : กากหรือส่วนของสิ่งอื่นที่มีกลิ่นเหม็นคล้ายขี้ เรียก ขี้ เช่น ขี้เปียกที่ติดอยู่ตามอวัยวะลับ เรียก ขี้ตะหลุ่ย ขี้ทารกในระยะที่ยังไม่กินนม เรียก ขี้เทา ขี้อ่อนในลำไส้ของคนหรือสัตว์ เรียก ขี้เพี้ย เมือกเหงื่อไคลที่ติดอยู่ตามรักแร้เรียก ขี้แฮ้ ขี้ต้อแล้.
  • ขี้
    แปลว่า : เศษหรือสิ่งของที่ไม่มีกลิ่นเหม็นแต่นิยมเรียก ขี้ เช่น ไข่แมลงวัน เรียก ขี้ไข่ขาง ขี้ไก่ขาง ก็ว่า ตระไคล้น้ำที่ติดอยู่ตามใบไม้หรือต้นไม้เรียก ขี้ไคลน้ำ ครั่งที่ปลูกไว้ตามต้นไม้ เรียก ขี้ครั่ง ดินทุกชนิดในแผ่นดินเรียก ขี้ดิน.