ภาษาอีสานหมวด "ค" 571 - 580 จาก 975
-
เคียว (คะนอง)
แปลว่า : คะนอง,บ้าบิ่น -
เคี้ยว
แปลว่า : บดให้แหลกด้วยฟัน เรียก เคี้ยว เช่น เคี้ยวเข้า เคี้ยวหมาก. -
เคี้ยว
แปลว่า : คด งอ คนที่มีนิสัยคดในข้องอในกระดุกเรียก เคี้ยว คดเคี้ยว ก็ว่า อย่างว่า ไม้ค้อมเคี้ยวกกก่องใบบาง (ฮุ่ง). -
เคื้อ
แปลว่า : อะเคื้อ คนสวยงามเรียก เคื้อ อะเคื้อ เอื้อเคื้อ ก็ว่า อย่างว่า เมื่อนางไกวแขนไปเอื้อเคื้อ หน้าหนุ่มเนื้อใสงาม (เวส). -
เคือง
แปลว่า : ขุ่นข้อง หมองใจ แสดงอาการขุ่นข้องหมองใจ เรียก เคือง อย่างว่า อย่าได้เคืองพระทัยจิตนาถแพงฮมฮ้อน (สังข์). -
เคือด
แปลว่า : ความเดือดดาล อย่างว่า เมื่อนั้นปิตุเรศไท้คลายเคือดมโนใส (สังข์). -
เคือด
แปลว่า : แห้ง ลดลง น้ำที่แห้งลงเรียก น้ำเคือด อย่างว่า แพ่งแพ่งน้ำบกเคือดแคมไห หัวคีงเขาเกือบสองพันห้า คลาไคลเมี้ยนมวลถอยแล้วอย่า ผู้จิ่งหน้าปันแพ่งลุงอาว (ฮุ่ง). -
เคือดเนือด
แปลว่า : ตรงและยาว ต้นไม้ที่ตรงและยาวเรียก ซื่อเคือดเนือด ถ้ายาวก็ว่า ยาวเคือดเนือด. -
เคือบ
แปลว่า : ฉาบ ทา เช่น ใช้น้ำยาทาถ้วยโถโอจาน เรียก เคือบ. -
เคือบคาว
แปลว่า : เหม็นสาบ เหม็นสาบเรียก เคือบคาว เหม็นคาว ก็ว่า อย่างว่า เลือดหลังป้านเป็นป่ามไฟแดง ภูธรทรงพระขรรค์ชัยป่ายคอสะเด็นกลิ้ง เลยเล่าดับขันธ์เมี้ยนเสียชีวังมรณาต คิงต่อด้าวดอยน้อยเคือบคาว (สังข์).