ภาษาอีสานหมวด "ป" 281 - 290 จาก 753

  • ปิตตะ
    แปลว่า : น้ำดี น้ำจากต่อมตับ (ป.).
  • ปิตา
    แปลว่า : พ่อ (ป.) อย่างว่า รือว่าพระวรปิตาใช้หลานดลดั้นยาก บัดนี้อาเล่าแพงยักษ์ล้ำลืมชั้นพระเชษฐา (สังข์).
  • ปิ่น
    แปลว่า : เครื่องประดับสำหรับปักที่ผมเวลาเกล้าเป็นจุก เรียก ปิ่นปักเกล้า อย่างว่า นางก็ลงเถิงห้องเฮือนครัวคุ้มฮุ่ง อาก็ลืมปิ่นเกล้าหัวแก้วค่าคาม (สังข์).
  • ปิ่น
    แปลว่า : ผินกลับมองดู อย่างว่า พ่อบ่เปื้องปิ่นหน้าคอยล้ำล่ำใผ แท้รือ (สังข์).
  • ปิ่นแป้
    แปลว่า : หมุนเวียน อย่างว่า คันว่านานหนีแท้ขุนมารชิมาฮอด มันจักจับปิ่นแป้เป็นเหมี้ยงเมื่อเย็น แท้แล้ว (สังข์) พูดสับปลับ เรียก เว้าปินแป้ อย่างว่า บ่ได้เว้าปิ่นแป้หลายลิ้นแง่งอน (ผาแดง).
  • ปิ่นวิ่น
    แปลว่า : หน้าที่จิ้มลิ้มพริ้มเพรา เรียก หน้าปิ่นวิ่น.
  • ปี้
    แปลว่า : บัตร ใบ ตั๋ว ใบเกิดเรียก ปี้ คนอีสานเมื่อได้ลูกแต่ละคนจะให้ผู้หลักผู้ใหญ่ตั้งชื่อให้และเขียนด้วยเหล็กจารใส่ใบลาน ม้วนเก็บลงในบั้งไม้ไผ่ เรียก บั้งปี้ หรือ บั้งชาตา และเก็บรักษาไว้เป็นของสำคัญ.
  • ปี้
    แปลว่า : คนที่มีร่างกายดำจนเหลื่อมเรียก ดำปี้ อย่างว่า เจ้าผู้กาดำปี้เทียมหงษ์มันชิค่องคือรือ เชื้อไพร่ฟ้าบ่สมเจ้าหน่อพระยา ดอกตี (ผญา).
  • ปีก
    แปลว่า : ข้าง ฝ่าย อย่างว่า ก้ำปีกซ้ายขุนเอกตางใจ (ขูลู).
  • ปีฐะ
    แปลว่า : ตั่ง ที่นั่ง เก้าอี้ ตั่งโบราณเรียก ตั่งอี้ อย่างว่า คันได้นั่งตั่งอี้อย่าฟ้าวเปิบใจหัว ย้านแต่มันพาพังสั่งกันบ่ทันแล้ว (ย่า).