ภาษาอีสานหมวด "ห" 396 - 405 จาก 1363
-
หยุด
แปลว่า : ซ่อมแซมหลังคาเรือนที่รั่ว เรียก หยุดเฮือน อย่างว่า เฮือนบ่หยุดหญ้าหลังคาฝนชิฮั่ว หน้าจั่วบ่แอ้มโจรชิเข้าลักของ (ภาษิต). -
หยุบ
แปลว่า : ขยุ้ม ขยุ้มด้วยมือทั้งห้านิ้ว เรียก หยุบ อย่างว่า หมากอ่อนส้อมประสงค์ใส่พลูจวง เทพีหยุบใส่ไตเลยจ้ำ ขุนหลวงเจ้าเมืองเม็งเป็นใหญ่มากิน ผู้ค่อยค้ำคูณลูกญิงเดียว แด่เนอ (ฮุ่ง). -
หยุม
แปลว่า : ขยุ้ม ขยุ้มด้วยเล็บ -
หยุ่ม
แปลว่า : หมู่ พวก กลุ่ม อยู่กันเป็นหมู่เรียก เป็นหยุ่ม อยู่เป็นพวก เรียก เป็นหยุ่ม อยู่เป็นกลุ่ม เรียก เป็นหยุ่ม. -
หยุ้ม
แปลว่า : ห้อมล้อม แวดล้อม เช่น คนห้อมล้อมกัน เรียก หยุ้มกัน. -
หยุย
แปลว่า : เรียกหนังสือเรื่องหนึ่งในวรรณคดีอีสาน กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ไปเกิดเป็น หมาหยุย หนังสือเรื่องนี้มีชื่อว่า ท้าวหมาหยุย อีกอย่างหนึ่งหมายภึงหมาที่มีขนเป็นปุยตามตัวว่าหมาหยุย. -
หยูก
แปลว่า : ยารักษาโรค หยูกยา ก็ว่า. -
หร
แปลว่า : ชื่อพระอิศวร หร หระ ก็ว่า (ป. ส.). -
หรคุณ
แปลว่า : เศษของวันในปีหนึ่งๆ ที่รวมกันนับตั้งแต่ตั้งศักราชเป็นต้นมา. -
หรดาล
แปลว่า : ชื่อแร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วยธาตุสารหนู และกำมะถัน มีสีแดงอมเหลือง ใช้สำหรับเขียนลายรดน้ำและสมุดดำ (ป. ส. หริตาล) อย่างว่า บางพ่องหน้าหมุ่ยแห้มคือสิ่งหอระดาล ก็มี ตาเมือเทิงทัดยูงตางต้าง ฝูงหมู่หัวเศิ็กท้าวธรงพลายเพียงเมฆ แขนป่งซ้อนโดยฮ้อยฮวาดธนู (สังข์).