ประโยคสนทนาภาษาอีสาน 1321 - 1330 จาก 2286

คำว่า แก้มอ่ำถ่ำ

ใจยังคนิงแต่นำเจ้า เด้อผู้แก้มอ่ำถ่ำ แปลว่า ใจยังคงคิดถึงน้องนางอยู่ตลอดเวลา

คำว่า ฝันคิ่ว

ฝันว่าได้ตัวเลข แล้วถูกล็อตเตอรี่ตามที่ฝัน อย่างนี้เรียกว่า ฝันคิ่ว

คำว่า ป๋ะ

ป๋ะเมีย แปลว่า หย่าร้างกับภรรยา
ป๋ะผัว แปลว่า หย่าร้างกับสามี

คำว่า เหลียก

เหลียก เป็นแมลงชนิดหนึ่ง ภาษากลางเรียก เหลือบ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหลียก

ยามแลง ๆ ไทบ้านดังไฟไล่เหลียกให้งัวให้ควยในคอก แปลว่า ตกเย็นมาชาวบ้านจะก่อไฟเพื่อไล่เหลือบให้กับวัวควายในคอก

คำว่า ก่อง-คิ้ว

เช่น พุสาวคิ้วเจ้าคือก่องงามแท้ หมายถึง ชมผู้หญิงว่าคิ้วโก่งสวยงาม 

คำว่า เกือย-ตัก

เช่น เวลาที่แม่จะใช้งานลูกไปตักน้ำใส่ตุ่ม

อีหล่าๆ ไปเกือยน้ำใส่แอ่งน้ำให้แม่แหน่เด้อ  แปลว่า หนูๆ ไปตักน้ำใส่ตุ่มให้แม่หน่อยนะ

คำว่า กลางเว็น

คำว่า "เว็น" ในภาษาอีสาน หมายถึง "วัน" ในภาษากลาง เฉพาะในความหมายว่า "ในเวลากลางวัน" เท่านั้น เช่น "มาแต่เว็นแท้" หมายถึง "มาแต่วันเชียวนะ" หรือ "กางเว็นไปไสมา" หมายถึง "ตอนกลางวันไปไหนมา"

คำว่า กระโตก

อีหล่า จัดอาหารใส่กระโตกแนลูก 
คำแปล.......ลูกรักจัดอาหารใส่ถาดด้วยนะ

คำว่า กั้งโกบ

เช่น กั้งโกบส่องหา ยามใด๋เจ้าสิมาน้อ

แปลว่า เอามือป้อง แล้งมองหา ว่าเมื่อไหร่เจ้าจะมา

การกั้งโกบคนอีสานจะใช้ เวลาที่อยู่กลางแดด เพื่อเป็นการบังแดดเวลามองไปในที่ต่างๆ

คำว่า กัสสโป

มักใช้ในคำผญาอีสาน 

“โอ๋ละหนอ แล้วสาธุๆ พระพุทธรัตนัง ธัมรัตนัง สังฆรัตนัง กกุสันโธ โกนาคมโน กัสสโป โคตโม พระศรีอริยเมตตรัยโย ล้วนแต่หน่อพุทโธให้มาปกให้บัง ให้มากั้งให้มาเลื่องยามลำไว้” 
นี่คือกลอนลำไหว้ครูแบบฉบับ จะเห็นว่ามีการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้แก่
พระกกุสันโธ หรือ นะ
พระโกนาคมโน หรือ โม
พระกัสสโป หรือ พุท
พระโคตโม หรือ ธา
พระศรีอริยเมตตรัยโย หรือ ยะ
รวมเป็น "นะโมพุทธายะ" ฉะนั้นในการกล่าวคาถานี้เพียงครั้งเดียว จึงถือว่าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าถึงห้าพระองค์ตามความเชื่อของชาวอีสาน