ประโยคสนทนาภาษาอีสาน 1671 - 1680 จาก 2286
คำว่า "ขัว" นอกจากจะแปลว่า "สะพาน" แล้ว
ยังเป็นคำกริยา ที่แสดงลักษณะที่เป็นการใช้เสียมขุดดินเบาๆในลักษณะทำมุมจากพื้นดินไม่เกิน 30 องศา เป็นการขุดดินเบาๆเป็นบริเวณกว้าง ไม่เน้นความลึก ซึ่งจะแตกต่างจากคำว่า "ก่น" มีเราจะขุดให้ลึกตัวอย่างการขัว เช่น
-ขัวหอย
-ขัวเขียดจินา
สามารถที่มาของคำว่าขัว ที่ไปคล้ายคำคำที่หมายถึงสะพาน น่าจะมาจาก เวลาที่คนลาว หรือคนอีสานไปขัวหอย หรือขัวหาของกินต่างๆ มักจะไปหาใต้สะพาน หลังน้ำแห้ง เพราะสัตว์จะจำศีลอยู่ เลยทำให้กลายเป็นคำเดียวกัน
คำว่า ขี้กะยือ เป็นอาการของโรคหอบหืด หรือ โรคภูมิแพ้ ลักษณะคือ จะมีอาการจาม และมี ขี้กะเทอ (สะเหลด) ติดคอ
สาเหตุหลักๆ ที่บ้านผมจะมาจาก แมว คือ ขนแมวนั่นเอง
ตัวอย่างบทสนทนา
อย่าไปใกล้บักต๊อกเด้อ เลาเป็นขี้กะยือ ขี้กะเทอเลาสิมาติดเอา
แปลว่า
อย่าเข้าใกล้บักต๊อกนะ แกเป็นโรคหอบหืด เดี๋ยวสะเหลดจะมาติดเอา
ขี้ตะโหลก หมายถึง พื้นดินที่ไม่เรียบ ตะปุ่มตะป่ำ ก้อนดินที่เกิดจากการไถนา
มาดูตัวอย่างกันนะครับ
นาเจ้าคือมีตะก้อนขี้ตะโหลกแท้ คือบ่เอาคราดมาคราดลงหล่ะ มันสิได้เรียบๆ ต้นข้าวจั่งสิได้เกิดส่ำๆกัน บ่มีต้นใด๋ใหญ่กว่ากัน
แปลว่า
ที่นาของคุณ มีแต่ก้อนดินที่ไม่เรียบ ทำไมไม่เอาคราดมาคราดลงซะหล่ะ จะได้ เรียบๆเสมอกัน ต้นข้าวก็จะได้เกิดเสมอกันด้วย ไม่มีต้นใดต้นหนึ่งใหญ่กว่ากัน
อีกความหมายหนึ่ง ใช้ในการเปรียบเทียบ อะไรก็ตามที่ไม่เรียบ
เช่น
หน้าเจ้าคือเป็นขี้ตะโหลกจั่งซี้ บ่เบิ่งแยงหน้าตาจะของบ๊อ
แปลว่า
ใบหน้าคุณทำไม่เรียบอย่างนี้ ไม่ดูแลรักษาหน้าตาหรือไง
พ่อใหญ่ดำผูกควายไว้ ก็เลยบอกให้หลานไปย้ายหรือเปลียนที่ที่ผูกควายไว้ว่า
บักหล้า ไปเขี่ยนควายให้แหน่เด้อ หรือ บักหล้าไปย้ายควายให้แหน่
แปลว่า หนูไปย้ายที่ผูกควายใหม่ให้หน่อย
สว่นที่แปลว่าทำให้เป็นเส้นฝอย เช่น แม่สิเขี่ยนหน่อไม้เอาไว้ซุป เป็นต้น
หย่างไปนำทางแนมเห็นแต่ก้อนหินว่าง โข่ โล่ เข่ เล่ เต็มทางอยู่ ไปกะบ่ ได๋ มีแต่ก้อนหิน กะ หยัง ล่ะ ๆ
คือจังว่านั้นหละ เฮามันคนทุกข์คนยาก แปลว่า เหมือนดังว่านั่นแหละ เรามันคนฐานะยากจน เป็นต้น
แม้ดินสลายยังมั่นคงคือจั่งตอนเริ่ม แปลว่า แม้ดินสลายก็ยังมั่นคงเหมือนดังตอนแรกเริ่ม
คำว่าแข่น หมาย ถึง แน่น ,เนื้อๆ หรือ เน้นๆ เช่น เอาแข่นๆ หมายถึง เอาเนื่้อๆ ไม่เอาน้ำ
เมื่อรวมกับคำว่า "อั้นตั้น" ซึ่งมักจะหมายถึง เนื้อหนัง ,กล้ามเนื้อ เช่นเวลาพูดถึงคนที่เนื้อแน่น ก็มักจะใช้คำว่า "แข่นอั้นตั้น" นั่นเอง
ตัวอย่างประโยค : บ่าวสี เพิ่นไถนาดู๋ เนื้อ เพิ่นแข่นอั้นตั้น ปานนักกีฬา
ความหมาย : บ่าวสี ไถนาทุกวัน เลยเนื้อแน่น เหมือนกับนักกีฬา
คำว่า คางกะไต คือ คาง, ส่วนปลายของคาง
มาดูตัวอย่างกันนะครับ
สาวนางคนเก่า
ปรกติแล้วเลาอาบน้ำอุ่นทุกมื้อ พอดีมื้อนี้เลาไปเที่ยวเชียงใหม่นั่นหนา หนาวกะหนาว น้ำอุ่นกะบ่มี เลยได้อาบตก พอตะอาบออกมาแล้ว เลาหนาวแฮงเห็นตะคางตะไกสั่น ง๊อกๆๆๆๆ เอาโลด