ฟ้อนโหวด

ฟ้อนโหวด

โหวด 

เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่ง และถือได้ว่า “โหวด” เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ทำด้วยลูกแคนแต่ไม่มีลิ้น โดยนำเอากู่แคนจำนวนประมาณ 7 ถึง 13 อันมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันให้ปลายทั้งสองข้างเปิด ปลายด้านล่างใช้ขี้สูดปิดให้สนิท ส่วนปลายบนเปิดไว้สำหรับเป็นรูเป่า โดยนำเอากู่แคนมารวมกันเข้ากับแกนไม้ไผ่ที่อยู่ตรงกลาง จัดลูกแคนล้อมรอบในลักษณะทรงกลม ตรงหัวโหวดใช้ขี้สูดก่อเป็นรูปกรวยแหลม เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจรดฝีปากด้านล่าง และให้โหวดหมุนได้รอบทิศเวลาเป่า

ฟ้อนโหวด

ฟ้อนโหวด

ฟ้อนโหวด

เป็นชุดการแสดงที่จัดทำขึ้นใหม่โดยภาควิชานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ด้วยการนำลักษณะของช่างประดิษฐ์โหวด มาปรับปรุงเป็นท่าฟ้อนทีมีความอ่อนช้อยสวยงาม สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกรรมวิธีการประดิษฐ์โหวดได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจาก ฝ่ายชายเข้าป่าไปหาตัดไม้กู่แคน นำมาตากแห้ง เลือกตัด ตกแต่ง ติดขี้สูดประกอบเข้ากับแกนโหวด เทียบเสียง แกว่งโหวดทดสอบ แล้วฝ่ายหญิงออก มาแสดงความร่าเริง สนุกสนาน ปิดท้ายด้วยการที่ฝ่ายชายออกมาเกี้ยวพาราสี หยอกล้อกัน

ฟ้อนโหวด

ประกอบไปด้วยท่าจากท่าฟ้อนแม่บทอีสานเช่น ท่านาคเกล้าเกี้ยว ท่าอุ่นมโนราห์ ท่าบัวคว่ำบัวหงาย ฯลฯ

ดนตรี บรรเลงด้วยวงโปงลาง ลายเค้าอ่านคอน ลายอ่านหนังสือน้อย ลายกลอนเขิน ลายพรานเดินดง และลายเมยกินโป่ง


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*