ภาษาอีสานหมวด "ก" 1431 - 1440 จาก 1872
-
เกี้ยว
แปลว่า : ผูก, พัน, รึงรัด อย่างว่า เห็นว่าอีอีฮ้องอย่าวางใจว่าจักจั่น ลางเทื่อเสียงเห่าห้อมเขียวเกี้ยวก็หากมี (ย่า). -
เกือ
แปลว่า : เลี้ยง, ขุน ขุนหมูเรียก เกือหมู เลี้ยงหม่อน เรียก เกือม้อน อย่างว่า ม้อนนอนอย่าเกือ เสือนอนอย่าปลุก (ภาษิต). เลี้ยงคนเรียก เลี้ยง ธรรมเนียมมีอยู่ ถ้าเลี้ยงคนต้องให้เหลือถ้าเกือสัตว์ต้องให้อิ่ม อย่างว่าเลี้ยงให้เหลือ เกือให้อิ่ม (ภาษิต). -
เกื้อ
แปลว่า : อุดหนุน, เกื้อกูล การเกื้อกูลอุดหนุนกัน เรียก เกื้อ อย่างว่า การใผมีค่อยเทียวทำเกื้อ (สังข์). -
เกื้อง
แปลว่า : สะบัด ส่วนของร่างกายดัดจากบ่าลงไปข้างล่าง เรียก เกื้อง. -
เกื่อย
แปลว่า : ตักน้ำเรียก เกื่อยน้ำ แก้ไขเหตุร้ายให้กลายเป็นดีเรียก เกื่อย อย่างว่า รือจักปุนเกื่อยให้หายบ้าบ่เป็นแลเด (สังข์) แม้นว่าบาปหมื่นชั้นเชิญให้เกื่อยไกล แต่ถ้อน (กา). -
แก
แปลว่า : สะแก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นมีหนาม ชอบเกิดในป่าโปร่งและใกล้ แม่น้ำ ใช้ปลูกครั่งได้ เรียก ต้นแก แจ ก็ว่า บ้านที่เอาชื่อต้นไม้นี้ไปตั้ง เรียก บ้านแกก็มี. -
แก่
แปลว่า : เฒ่า, นาน คนที่เกิดนานเรียก คนแก่ อย่างว่า ย่านี้เถ้าแก่แล้วเนื้อเหี่ยวหนังยาน หูตาเสียบ่คือยังน้อย ตีนมือเศร้าตนโตเหลืองหล่า ตาบ่แจ้งหูนั้นกะบ่ใส (ย่า). -
แก่
แปลว่า : ใหญ่, มีอำนาจ, มีวาสนา อย่างว่า ทั้งสองข้างหิมพานต์ขงเขตเฮานี้ ใผบ่มีแก่แท้เสมอด้ามดั่งเดียว (เชตพน). -
แก่
แปลว่า : ลาก, เข็น ลากเกวียนเรียก แก่เกวียน อย่างว่า เฮือคาแก้งเกวียนเห็นให้เกวียนแก่ บาดห่าฮอดแม่น้ำเฮือชิได้แก่เกวียน (ย่า). -
แก้
แปลว่า : ทำให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่เรียก แก้ ปด ก็ว่า เมื่อเป็นไข้หายามารักษา เรียก แก้ไข้ บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วนำเครื่องไปบูชาเรียก แก้บ๋า หาทนายว่าความแทนเรียก แก้ต่าง แก้ตาง ก็ว่า.