ภาษาอีสานหมวด "ค" 165 - 174 จาก 975
-
คร้ำ
แปลว่า : คร่ำครวญ อย่างว่า เมื่อนั้นวัณนุราคร้ำกลอนเก่ามาคนิง เล็งโยธาพวกพลบางข้าง โฮมความให้ตีเทียนเหล้มหมื่น กองโกฏิแก้วคำเข้มแข่งผิว (สังข์). -
ครึม
แปลว่า : ทึบ รก ป่าไม้ที่รกมองไม่เห็นหนเรียก ครึม อึมคึม ก็ว่า อย่างว่า สองอยู่ซ้นคึมป่าบังบด เฮียงมือเอาบุญคุณตื่มเป็นปราการแก้ว แลงงายได้ผาลาเล็มบ่าง บกพอกพร้อมยมหว้ากอกเกียง (สังข์). -
ครึ้ม
แปลว่า : มืดมัว อากาศบนท้องฟ้ามองไม่เห็นตะวัน เรียก ท้องฟ้าครึ้ม มืดอึ้มคึ้ม ก็ว่า อย่างว่า เหลียวเบิ่งมืดอึ้มคึ้มคือฟ้าเง่าฝน (บ.). -
ครืน
แปลว่า : ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง หลักทำด้วยหวาย ปลายทำด้วยเชือก เรียก ครืน คืน ก็ว่า อย่างว่า กกแม่นหวาย ปลายแม่นเชือก ใผแก้บ่ได้ชิบอกว่าคืน (ปัญหา). -
ครื่นครื่น
แปลว่า : เสียงฟ้าร้องดังครื่นครื่น คื่นคื่น ก็ว่า อย่างว่า ฟังยินคื่นคื่นฟ้าลมล่วงดังดายพุ้นเยอ สองคอยเทียวไปมาสู่กันการชู้ พอเมื่อสูรย์สายเศร้าฉายายามค่ำ เจืองก็คึดฮุ่งฮู้ธรรม์ต้นลูกเม็ง (ฮุ่ง). -
ครื่นครื่น
แปลว่า : เสียงน้ำไหล อย่างว่า คื่นคื่นก้องกงแม่สมุทรหลวง ชาวนาคาตื่นตนเฮย้าน (สังข์). -
ครื่นครื่น
แปลว่า : เสียงคนเดิน อย่างว่า พลถือก้ามเต็มนานองเครื่อง คื่นคื่นเข้าเชียงล้านเมื่อแลง (สังข์). -
ครื่นครื่น
แปลว่า : เสียงนางกินรีบิน อย่างว่า คื่นคื่นเค้าบินเวิ่นเวหา ทังปวงแยงยาดกันดูน้อย เมื่อนั้นนูเนือท้าวบาศรีโฉมฮาบคอยผ่อน้องทังค้ายใคร่กระสัน (สังข์). -
ครื่นเคร็ง
แปลว่า : เสียงฟ้าร้องเรียก ครื่นเคร็ง คื่นเค็ง ก็ว่า อย่างว่า ผ่อดูวันสูรย์ซ้ายเมโฆเค้าฮ่ม พุ้นเยอ ฟ้าหลั่งเหลื้อมเสียงก้องคื่นเค็ง (สังข์). -
ครื่นเคร็ง
แปลว่า : เสียงไม้ค้อนกระทบกัน อย่างว่า เค็งเค็งเสื้อแสวงยิงยียาด ค้อนแกว่งเปลื้องตีต้องคื่นเค็ง (สังข์).