ประโยคสนทนาภาษาอีสาน 1421 - 1430 จาก 2286

คำว่า เกื้อ

เช่น เฮามีอีหยังเฮากะต้องเกื้อกันไปหนิหละ  แปลว่า มีอะไรก็ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน

คำว่า เกิบแก้ว

มักใช้ในบทผญา , คำประพันธ์

คำว่า กองก้นจูดกูด

อ้ายอันนั้นเพิ่นเมาเหล้า เมานอนกองก้นจูดกูด

แปลว่า คนเมา เมาจนหัวทิ่ม

คำว่า ก้องแขน

ตัวอย่าง : สาวแหล่ดีใจหลายผู้บ่าวซื้อก้องแขนมาให่ 

คำแปล : สาวแหล่ดีใจมากหนุ่มคนรักซื้อกำไลมือมาให้

คำว่า กะบ่วง

อีหล่าๆ ไปเอากะบ่วงมาให่แม่แหน่

หนูๆ ไปหยิบช้อนมาให้แม่หน่อย

คำว่า กะลอ

ตัวอย่าง "มื้อนี้ผู้ใหญ่บ้านตีกะลอเอิ้นลูกบ้านประชุม"

แปล " วันนี้ผู้ใหญ่บ้านเคาะเกราะเรียกลูกบ้านเข้าประชุม"

คำว่า ก้อ

-ก้อ หมายถึงการม้วนเข้าหากัน หรือ เป็นลักษณะนามของสิ่งที่เป็นม้วนๆ เช่น ก้อด้าย หมายถึง ม้วนของเชือกเส้นเล็กๆ 
-ก้อสาด หมายถึง ม้วนเสื่อ การเก็บม้วนเสื่อ
-ก้อเซียกว่าว หมายถึง การม้วนเชือกที่ใช้ผูกว่าวเข้าใว้เพื่อเก็บไว้
-ก้อกอกยา หมายถึง การพันยาเส้น เพื่อให้เป็นยาสูบ
- ก้อแขนเสี่ย หมายถึง การพันแขนเสื้อขึ้น

สรุปแล้ว "ก้อ"หมายถึง การม้วน หรือ การพัน นั่นเอง พะน้า พะนะ

คำว่า กะญอน

กะญอน! ตำบักหุ่งครกนี้เป็นหยังคือบ่แซ่บ เป็นย้อนบ่ได้ใส่ปลาแดกตั้วนี่ 
มิน่าหล่ะ! ส้มตำครกนี้ทำไมถึงไม่อร่อย เป็นเพราะไม่ได้ใส่ปลาร้านี่เอง

กะย่อนว่าอยู่ต่างม่อง กะเลยเอิ้นต่างกัน
แปลว่า ก็เพราะว่าอยู่ต่างที่ก็เลยเรียกต่างกัน
ปล. ม่อง แปลว่า ที่,ตำแหน่ง,พิกัด  

คำว่า กะเอา

บอกบ่ถืกดอก กะเอาโลด

แปลว่า บอกไม่ถูกหรอก ให้เดาเอาเลย หมายถึงให้คาดตะเนเอาเอง หรือ ประมาณการเอาเอง

คำว่า ขอขมา

"ยามออกพรรษาพากันไปขอขมาจากพ่อใหญ่แม่ใหญ่เผิ่นจำศีลอยู่ศาลา"
ลักษญะการขอโทษ ทั้งกาย(กายกรรม) วาจา(วจีกรรม) ใจ(มะโนกรรม)ที่ล่วงเกินทั้งเจตนาและไม่เจตนา ต่อหน้าและลับหลังจะพีธีนี้จะเห็นบ่อยเวลาออกพรรษา ประกอบพานดอกไม้ธูปเทียน หรือบางครั่งเมื่อ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเสียชีวิต ลูกหลาน ญาติๆจะขอขมาก่อนเคลื่อนศพออกไปวัดหรือสู่เมรุ