ค้นหา "คือ" 801 - 810 จาก 1148
-
ก้องขา
แปลว่า : ครื่องประดับต้นขาที่คนธรรมดาสามัญใช้ คือเอาเงินหรือทองคำตีเป็นบ่วงกลม ๆ สวมที่ข้อแขนและข้อขา เครื่องประดับชั้นสูงสำหรับพระราชามหากษัตริย์ใช้ จะเรียกว่า ม้าว -
หล่วย
แปลว่า : บอกลักษณะสิ่งที่ลื่น หรือลื่นมาก ๆ อีกความหมายหนึ่งคือ แก้ตัว,ไหลลื่น,หาทางออกไปแบบน้ำขุ่นๆ -
ผีด้ำ
แปลว่า : คนที่ถือว่าเป็นเชื้อสายเดียวกันนั้นมี ๗ ชั้น นับจากสูงลงมาต่ำ คือนับจาก ๑ ทวด ๒ ปู่ย่าตายาย ๓ พ่อแม่ ๔ ตัวเรา ๕ ลูก ๖ หลาน ๗ เหลน คนทั้ง ๗ ชั้นนี้เรียกเชื้อสายเผ่าพันธุ์ วงศ์ตระกูลเดียวกัน เมื่อคนทั้ง ๗ ชั้นนี้คนใดคนหนึ่งตายไป -
อยู่ดีมีแฮง
แปลว่า : สบายดีมีความสุข, สุขกายสบายใจ เป็นคำพูดที่มักใช้การอวยพร เช่น อยู่ดีมีแฮงเด้อหล่าเด้อ หรือใช้ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ เช่น เป็นจังได๋อยู่ดีมีแฮงอยู่เนาะ ในบางครั้งจะมีคำสร้อยคู่กันเป็นการเล่นคำ เพื่อเพิ่มความสละสลวย นั่นคือ อยู่แดงมีฮี เช่น ขอให้เจ้าอยู่แดงมีฮี อยู่ดีมีแฮง คำว่า อยู่ ในภาษาอีสานจะออกเสียงว่า ยู ดังนั้นคำว่า อยู่ดีมีแฮง จะออกเสียงว่า ยูดีมีแฮง -
คันคาย
แปลว่า : ระคายเคือง, คันยุบยับ, อาการคันที่เกิดจากการระคายเคือง เช่น กองฟาง หญ้าที่มีขน -
พาก
แปลว่า : เป็นคำว่าด่า แปลเป็นไทยคือคำว่า ห่า เป็นคำเดียวกับคำว่า โรคห่า ถูกนำมาใช้เป็นคำด่า เช่น อีพาก บักพาก -
เขิง
แปลว่า : เครื่องมือเครื่องใช้ชนิดหนึ่ง คล้ายกระด้ง ใช้ร่อนรำ คือเวลาตำข้าวแล้วเอามาใส่เขิง ร่อนให้ปลายข้าวและรำร่วงลอดตาเขิงลงมา ใส่ภาชนะที่รองไว้ เอาข้าวไปฝัดให้แกลบปลิวออก แล้วนำมาตำต่อ ส่วนรำและปลายข้าวที่ลอดเขิง ก้อเอาไปเลี้ยงไก่เลี้ยงหมู เขิงจะมีตาถี่เล็กกว่ากระด้ง -
เผต
แปลว่า : เปรต, ผีเปรต สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหย็อกหย็อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน (ส.; ป. เปต). -
ผีเผต
แปลว่า : เปรต, ผีเปรต น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหย็อกหย็อย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน (ส.; ป. เปต). -
แมนหยังดอก
แปลว่า : อะไรไม่รู้ คำเต็ม ๆ ของคำนี้คือ จั๊กแมนหยังดอก แต่พูดเร็ว ๆ จึงเหลือแค่ แมนหยังดอก ซึ่งก็ยังนิยมพูดกันทั้งสองคำ