ประโยคสนทนาภาษาอีสาน 380 - 389 จาก 2286

คำว่า ฮ้อน

เช่น อากาศมันคือมาฮ้อนแท้มื้อนี้ = ทำไมอากาศวันนี้มันร้อนจัง

คำว่า ก่องข้าว

ก่องข้าว กระติบข้าว 

เช่น ยายสี เจ้าพายก่องเข่าไปไส  แปลว่า ยายสีจะสะพายกระติบข้าวไปไหน

คำว่า กระติบข้าว

เช่น แม่ใหญ่สี เจ้าสิพายกระติบเข่าไปใสน้อ แปลว่า ยายสีจะสะพายกล่องข้าวเหนียวไปไหนหรอ

คำว่า เกือยแก้

มักใช้ในคำผญาอีสาน

คำว่า กาย

กาย หรือ ร่ายกาย เหมือนกับคำภาษาไทยในปัจจุบัน เช่น

ไกลกายเจ้า ใจอ้ายกะอยู่นำนาง  เป็นคำผญา แปลว่า ตัวไม่ได้อยู่ใกล้ แต่ใจก็อยู่ใกล้

กาย ในความหมายของกริยา

มึงอย่าย่างกายหน้าบ้านกูนะ หมายความว่า มึงอย่ามาเดินผ่านหน้าบ้านกูนะ

ย่างกายสวน หมายความว่า เดินผ่านไร่สวน, เดินทะลุไร่สวน

คำว่า กะซางเถาะ

ไผบ่สนใจกะซางเถาะบ่ต้องไปง่อ

ใครไม่สนใจก็ช่างเถอะ อย่าำปสนใจ

สามารถแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า "กะซาง" กับคำว่า "เถาะ"

กะซาง = ก็ช่าง

เถาะ = เถอะ

คำว่า กองจู่นพูน

อยู่ท่งนาเอาเฟืองมากองกันไว้อยู่เทิงโพน กอง จุ่น พูน ( คำว่า โพน คือ จอมปลวก ) เด้ 
( เทิง คือ ชั้นบน )

คำว่า ก้อง

ก้องโต๊ะ 
แปลว่า ใต้โต๊ะ 
เป็นภาษาเก่า

เป็นศัพท์ที่คนในภาคอีสานค่อนข้างใช้น้อย

เช่น อาจารย์:นายซัย โตฟ้าวเมี้ยนก้องโต๊ะโตไวๆ มันหมุ่นโพดนา

แปลว่า นายชัย เธอช่วยเก็บของใต้โต๊เร็ว มันเละเทะเกิน

คำว่า ก๋อ


เช่น ข่อยบ่มักขึ้นต้นพ้าว มันบ่มีง่าให้ก๋อ ย้านตกซั่นดอก 

หรืออย่างเช่น 

จารย์ใหญ่ : อีหล่ามึงเป็นหยังจั่งมานั่งให้อยู่แถวน้ำส่างนี่ 
สาวส่า : คุข่อยตกส่างเอาขึ้นบ่ได้ 
จารย์ใหญ่ : มึงคือบ่หาไม้่คันก๋อ 
สาวส่า : อ้ายบ่าวหน่อลาวเอาไปเสี่ยง 
จารย์ใหญ่ : มันไปไสล่ะ 
สาวส่า : ลาวถือไม้คันก๋อขึ้นโคกไปแล้ว ลาวว่าคันอยากได้ให้นำไปเอา 
จารย์ใหญ่ : มึงคือบ่ไปล่ะ 
สาวส่า : ฮื่อ 

คำว่า กะหย่า

ไปเฮาไปก่อน มันบ่ไปกะหย่ามัน

แปลว่า พวกเราไปกันก่อน มันไม่ไปก็ช่างมัน

ไผสิจ่มเฮา สิว่าเฮาจั่งใด๋ กะอย่าเขา
แปลว่า ใครจะบ่นเรา ว่าเรายังไงก็ช่างเค้า